วันพฤหัสบดีที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

สัตว์ป่าและการอนุรักษณ์

บทที่1
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
กระจงควาย





กระจงควาย
ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Tragulus napu
ลักษณะทั่วไป จัดเป็นสัตว์เคี้ยวเอื้องกีบคู่ขนาดเล็ก รูปร่างคล้ายกวาง แต่ทั้งตัวผู้และตัวเมียไม่มีเขา กระจงตัวผู้จะมีเขี้ยวบนยาวเลยริมฝีปากบนลงมา เมื่อโตเต็มวัย สูงประมาณ 30-35 เซนติเมตร น้ำหนักตัวประมาณ 3.6-6.0 กิโลกรัม ขนบนตัวสีน้ำตาลออกเทาและมีจุดสีเข้มกว่ากระจายอยู่ทั่วไป ที่ใต้คอและบนหน้าอกมีแถบสีขาวพาดตามยาว 5 เส้น ถิ่นอาศัย, อาหาร พบในพม่า อินโดจีน ไทย แหลมมลายู สุมาตรา และบอร์เนียว ชอบกินหญ้าอ่อน ผลไม้ป่า ยอดไม้ และใบไม้อ่อน พฤติกรรม, การสืบพันธุ์ ปกติชอบอยู่โดดเดี่ยว นอกจากในฤดูผสมพันธุ์จึงจะอยู่เป็นคู่ เป็นสัตว์ออกหากินในเวลากลางคืน ส่วนในเวลากลางวันจะหลบพักนอนตามหลืบหิน และโพรงไม้ ฤดูผสมพันธุ์ตกอยู่ในช่วงเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม โตเต็มวัยพร้อมจะผสมพันธุ์ได้เมื่ออายุ 4-5 เดือน ระยะตั้งท้องนาน 5-6 เดือน หรือ 152-172 วัน ออกลูกครั้งละ 1 ตัว สถานภาพปัจจุบัน เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 สถานที่ชม สวนสัตว์ดุสิต สวนสัตว์เปิดเขาเขียว สวนสัตว์สงขลา

กระต่ายบ้าน
กระต่ายบ้าน
ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Oryctolagus cuniculus

ลักษณะทั่วไป กระต่ายเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็ก ฟันหน้ามีอยู่ 4 ซี่เรียงซ้อนกันเป็น 2 คู่ โดยคู่หลังจะเล็กกว่าคู่หน้า ขาหน้ามี 5 นิ้ว แต่ขาหลังมีเพียง 4 นิ้ว ใต้อุ้งเท้ามีขนยาว และภายในกระพุ้งแก้มมีขนด้วย สำหรับกระต่ายบ้านนั้นมีเท้าสั้น ขนสั้น ลูกกระต่ายบ้านที่คลอดออกมาใหม่ ๆ ตัวแดงและไม่มีขนตาปิด ซึ่งแตกต่างจากกระต่ายป่า ถิ่นอาศัย, อาหาร พบที่ทวีปยุโรป แอฟริกา ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ กระต่ายกินผัก หญ้า และเปลือกไม้เป็นอาหาร พฤติกรรม, การสืบพันธุ์ กระต่ายบ้านสามารถผสมพันธุ์ได้บ่อย ตัวเมียตั้งท้องเพียง 1 เดือน ปีหนึ่งจึงสามารถออกลูกได้ 4-8 ครอก ลูกกระต่ายที่มีอายุราว 6-8 สัปดาห์จะแยกจากแม่ได้และมีอายุยืนราว 7-8 ปี สถานภาพปัจจุบัน สถานที่ชม สวนสัตว์ดุสิต สวนสัตว์เชียงใหม่ สวนสัตว์นครราชสีมา

กระทิง
กระทิง
ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Bos gaurus

ลักษณะทั่วไป กระทิงมีรูปร่างคล้ายวัว ขนสั้นเกรียนเป็นมันสีดำหรือแกมน้ำตาล ขาสีขาวนวลคล้ายสวมถุงเท้า บริเวณหน้าผากมีหน้าโพธิ์สีเทาปนขาวหรือปนเหลือง สันกลางหลังสูง มีเขาทั้งตัวผู้และตัวเมีย เขาโค้ง โคนเขามีสีเหลือง ปลายเขาสีดำ ใต้ผิวหนังมีต่อมน้ำมันซึ่งน้ำมันมีกลิ่นฉุนเล็กน้อย ถิ่นอาศัย, อาหาร พบในทวีปเอเชียแถบประเทศอินเดีย พม่า อินโดจีน มาเลเซียและไทย ในป่าเมืองไทยสามารถจำแนกได้ 2 สายพันธุ์ย่อย คือ Bos gaurus readei เป็นสายพันธุ์ที่พบทางป่าภาคตะวันตกเฉียงเหนือ ภาคเหนือและอีสาน อีกสายพันธุ์หนึ่งคือ Bos gaurus hubbachi พบทางภาคใต้และเทือกเขาตะนาวศรี กระทิงชอบกินดินโป่ง หญ้า หน่อไม้ ใบไม้อ่อน และผลไม้ป่าบางชนิดเป็นอาหาร พฤติกรรม, การสืบพันธุ์ ชอบอาศัยอยู่ตามป่าดงดิบที่อยู่ห่างไกล ทั้งป่าทุ่งหญ้าและป่าภูเขา ตามปกติไม่ดุร้ายเว้นแต่ถูกทำร้ายหรืออยู่ในระหว่างฤดูผสมพันธุ์ ส่วนใหญ่มักอยู่รวมกันเป็นฝูงและไม่ชอบนอนแช่ปลักเหมือนควาย กระทิงสามารถผสมพันธุ์ได้ตลอดปี ส่วนใหญ่จะผสมพันธุ์ในช่วงเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม ตัวเมียตั้งท้องนาน 9 เดือน

กวางป่า

กวางป่า(กวางม้า)
ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Cervus unicolor
ลักษณะทั่วไป เป็นกวางขนาดใหญ่ ขนยาวหยาบมีสีน้ำตาลเข้ม ขนบริเวณคอจะยาวขึ้นหนาแน่นกว่าที่อื่นๆ ลูกกวางป่าเกิดใหม่จะไม่มีจุดขาว ๆ ตามตัวเช่น ในลูกเนื้อทรายหรือกวางดาว หางค่อนข้างสั้น มีเขาเฉพาะตัวผู้ เขามีข้างละ 3 กิ่ง เขาที่ขึ้นครั้งแรกมีกิ่งเดียว เมื่อเขาแรกหลุดเขาที่ขึ้นใหม่ มี 2 กิ่ง เมื่อเขา 2 กิ่งหลุด เขาที่ขึ้นใหม่มี 3 กิ่ง ปีต่อไปเมื่อผลัดเขาใหม่จะมีเพียง 3 กิ่งเท่านั้น ไม่เพิ่มมากกว่านี้ ผลัดเขาทุกปีในช่วงเดือนมีนาคม หรือ เดือนเมษายน เขาแก่ในเดือนพฤศจิกายน มีแอ่งน้ำตาที่หัวตาทั้ง 2 ข้าง ขนาดใหญ่มากยื่นออกมาให้เห็นชัดเจน ยิ่งในฤดูผสมพันธุ์แอ่งน้ำตานี้จะยิ่งมีขนาดใหญ่ขึ้นอีกและขับสารที่มีกลิ่นแรงมากออกมาซึ่งเป็นประโยชน์ในการดมกลิ่นตามหากัน เป็นสัตว์ที่มีหู ตา จมูกไวมาก ถิ่นอาศัย, อาหาร พบตั้งแต่ศรีลังกา อินเดีย เนปาล พม่า ไทย อินโดจีน จีนตอนใต้ มาเลเซีย สุมาตรา ชวา บอร์เนียว เซลีเบส ไต้หวัน ไหหลำ ฟิลิปปินส์ อัสสัม สำหรับประเทศไทย พบตามป่าดงดิบทั่วไปทุกภาคทั้งป่าสูงและป่าต่ำ ชอบกินใบไม้ และยอดอ่อนของพืชมากกว่าหญ้า อาหารในธรรมชาติของกวางได้แก่ เถาวัลย์อ่อน ๆ ยอดอ่อนของไม้พุ่มเตี้ย ๆ ใบไม้ใบหญ้าที่เพิ่งผลิใบ ใบไผ่ และชอบกินดินโป่งมาก พฤติกรรม, การสืบพันธุ์ ปกติชอบอยู่ตามลำพังตัวเดียว นอกจากฤดูผสมพันธุ์ ออกหากินตั้งแต่ตอนเย็นถึงเช้าตรู่ ส่วนกลางวันจะนอนในที่รกทึบ ชอบอาศัยอยู่ตามป่าทั่วไปรวมทั้งป่าทึบ ชอบออกมาหากินอยู่ตามริมทาง ลำธาร และทุ่งโล่ง ชอบนอนแช่ปลักโคลนเหมือนกระบือเพื่อป้องกันแมลง ในฤดูผสมพันธุ์ตัวผู้จะดุร้ายและหวงตัวเมียมาก ช่วงนี้ตัวผู้จะต่อสู้กันอย่างดุร้ายเพื่อแย่งตัวเมีย ว่ายน้ำเก่งและปราดเปรียว มันไม่ชอบช้างและกลิ่นของช้าง ฤดูผสมพันธุ์อยู่ในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนมกราคม ตั้งท้องนานประมาณ 8 เดือน ออกลูกครั้งละ 1 ตัวในช่วงต้นฤดูฝน ลูกกวางจะเริ่มแยกจากแม่ไปหากินตามลำพังเมื่ออายุราว 1 ปีหรือ 1 ปีกว่า และโตกวางป่าพร้อมผสมพันธุ์ได้เมื่ออายุ 18 เดือน อายุยืนประมาณ 15-20 ปี สถานภาพปัจจุบัน เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535

กวางฟอลโลว์








กวางฟอลโลว์

ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Dama dama
ลักษณะทั่วไป เป็นกวางขนาดกลางมีกีบคู่ มีกระเพาะ 4 กระเพาะ มีเขาเฉพาะตัวผู้เขาแผ่ออกเป็นแผ่นแบนกว้าง หรือแผ่ออกเป็นรูปฝ่ามือ เมื่ออายุย่างเข้าปีที่ 2 ตัวผู้จึงจะเริ่มมีเขางอกขึ้นมาเป็นกิ่งต่าง ๆ ในปีต่อไป จึงเริ่มแตกกิ่งเพิ่มขึ้น ปีที่ 4 ปลายเขาเริ่มแตกเป็นแผ่นคล้ายเสียม หรือ พลั่วขุดดิน ปี่ที่ 6 - 7 เขาจะแตกแผ่เป็นแผ่นอย่างเต็มที่ จะผลัดเขาในฤดูใบไม้ผลิ ขนสีเทาแกมเหลืองสดในหน้าร้อน มีจุดขาวขนาดใหญ่อยู่กลางหลังและข้างลำตัว มีแถบสีดำทอดยาวจากกลางหลังไปถึงสะโพก ช่วงล่างลำตัวสีขาว ขนเรียบบางและแนบติดกับลำตัว หน้าหนาวขนจะมีสีน้ำตาลเทา จุดขาวตามลำตัวจะเลือนไปเห็นไม่ชัด และมีขนหยาบกร้านหนากว่าหน้าร้อน ถิ่นอาศัย, อาหาร เป็นสัตว์ดั้งเดิมของประเทศต่างๆ ที่อยู่รอบๆ ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน คือ ยุโรปใต้ เอเชียไมเนอร์ และปาเลสไตน์เหนือ ต่อมาได้มีการนำไปเลี้ยงในอังกฤษและอีกหลายประเทศ จัดว่าเป็นสัตว์กึ่งสัตว์บ้าน ที่พบว่าดำรงชีพแบบสัตว์ป่าแท้ๆ มีน้อยมาก ส่วนใหญ่พบได้ตามสวนสัตว์เท่านั้น ในอนาคตจะเป็นสัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์ หญ้าเป็นอาหารหลัก นอกจากนี้ก็กินใบไม้ หน่อพืชอ่อน ๆ พฤติกรรม, การสืบพันธุ์ เป็นสัตว์ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง หน้าร้อนตัวผู้ที่โตเต็มที่จะแยกตัวออกไป ทิ้งให้ตัวเมียและตัวผู้อายุน้อยอยู่รวมกันในฝูง เป็นสัตว์ที่ตาไวมาก หู จมูกก็เฉียบไว ตื่นตัวอยู่เสมอ เมื่อนำมาเลี้ยงจะเชื่อง ในฤดูผสมพันธุ์ตัวผู้จะเข้ามาติดพันตัวเมียและมีการต่อสู้กันระหว่างตัวผู้ ลูกออกมา 2 - 3 สัปดาห์แรกจะหลบซ่อนตัวในพงหญ้าที่รกทึบ หลังจากนั้นจะวิ่งตามตัวอื่นในฝูง กวางฟอลโลว์จะเริ่มผสมพันธุ์เมื่อมีอายุประมาณ 18 เดือน ตัวเมียที่ตั้งท้องจะแยกตัวออกห่างจากฝูงและจะตั้งท้องอยู่นาน 230 วัน สถานที่ชม สวนสัตว์นครราชสีมา สวนสัตว์สงขลา

เก้ง







เก้ง(อีเก้ง หรือ ฟาน)
ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Muntiacus muntjak
ลักษณะทั่วไป เป็นกวางขนาดเล็ก ลำตัวยาวประมาณ 1 เมตร สูงประมาณ 50 เซนติเมตร น้ำหนัก 14-18 กิโลกรัม ตัวผู้มีเขาสั้น ยาวประมาณ 15 เซนติเมตร และมีแขนงเล็ก ๆ แตกออกข้างละสองกิ่ง ตัวเมียไม่มีเขา ขนตามลำตัวสีน้ำตาลแดง มีต่อมน้ำตาขนาดใหญ่และแอ่งน้ำตาลึก ตัวผู้มีเขี้ยวยาวยื่นออกมานอกริมฝีปาก ใช้สำหรับป้องกันตัว ลูกเก้งมีจุดสีขาวตามตัว และจะค่อยจางหายไปเมื่อมีอายุได้ราว 6 เดือน ถิ่นอาศัย, อาหาร ศรีลังกา อินเดียภาคใต้ จีนตอนใต้ พม่า มาเลเซีย อินโดจีน สุมาตรา ชวา บอร์เนียว หมู่เกาะซุนดา และทุกภาคของประเทศไทย เก้งกินใบไม้อ่อน หน่อไม้อ่อน มะขามป้อม และมะม่วงป่า พฤติกรรม, การสืบพันธุ์ มักชอบอาศัยอยู่ตามลำพังตัวเดียวตามพงหญ้าและป่าทั่วไป เว้นแต่ในช่วงฤดูผสมพันธุ์จะอยู่เป็นคู่ เป็นสัตว์ออกหากินตอนเย็นและเช้าตรู่ กลางวันหลับนอนตามพุ่มไม้ เมื่อตกใจจะส่งเสียงร้อง "เอิ๊บ-เอิ๊บ-เอิ๊บ" คล้ายเสียงสุนัขเห่า และเป็นสัตว์ที่กระหายน้ำเก่ง เก้งเริ่มผสมพันธุ์ได้เมื่ออายุปีครึ่ง ออกลูกครั้งละ 1 ตัว สถานภาพปัจจุบัน เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535

สถานที่ชม สวนสัตว์ดุสิต สวนสัตว์เปิดเขาเขียว สวนสัตว์เชียงใหม่ สวนสัตว์นครราชสีมา สวนสัตว์สงขลา

เก้งเผือก




เก้งเผือก
ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Muntiacus muntjak
ลักษณะทั่วไป เหมือนเก้งธรรมดาแต่มีสีขาวปลอดทั้งตัว ถิ่นอาศัย, อาหาร พบในอินโดจีน อินโดนีเซีย จีนตอนใต้ ศรีลังกา อินเดีย สำหรับในประเทศไทยพบทุกภาค เก้งเผือกกินหญ้า ใบไม้ และผลไม้ พฤติกรรม, การสืบพันธุ์ ปกติชอบอยู่ตามลำพังตัวเดียว หากินตอนเย็นถึงเช้าตรู่ กลางวันหลบนอนตามพุ่มไม้ ปราดเปรียว เวลาตกใจจะส่งเสียงร้องคล้ายเสียงสุนัขเห่า เก้งเผือกเริ่มผสมพันธุ์ได้เมื่ออายุประมาณ 1 ปีครึ่ง ฤดูผสมพันธุ์อยู่ในช่วงฤดูหนาว ตั้งท้องนาน 6 เดือน ออกลูกครั้งละ 1 ตัว อายุยืนราว 15 ปี สถานภาพปัจจุบัน เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 สถานที่ชม สวนสัตว์ดุสิต

เก้งหม้อ







เก้งหม้อ(เก้งดำ หรือ เก้งดง)
ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Muntiacus feae
ลักษณะทั่วไป เป็นกวางขนาดเล็ก ใหญ่กว่าเก้งเล็กน้อย ลำตัวยาว 88-100 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 22 กิโลกรัม ลำตัวซีกบนสีน้ำตาลแก่ ซีกล่างสีน้ำตาลปนขาว หางสั้นซีกบนเป็นสีดำเข็ม ซีกล่างของหางสีขาวตัดกันสะดุดตา มีเขาเฉพาะในตัวผู้ เขามีข้างละ 2 กิ่ง แต่ไม่สวยงามเท่าเก้ง ต่อมน้ำตาใหญ่มาก มีแอ่งน้ำตาใหญ่ ผลัดเขาทุกปี ยกเว้นตัวผู้ที่แก่มากๆ เขาอาจอยู่ได้นานถึงสองปีกว่า ถิ่นอาศัย, อาหาร พบทางภาคใต้ของประเทศไทย เทือกเขาตะนาวศรี และตามแนวชายแดนที่ติดต่อกับประเทศพม่า อาหารที่กินได้แก่ ใบไม้ ใบหญ้า ผลไม้บางชนิด หน่ออ่อนของต้นไม้ โดยเฉพาะหญ้าระบัดจะชอบมาก พฤติกรรม, การสืบพันธุ์ ชอบอาศัยอยู่ตามป่าทึบสูงๆ ที่เป็นป่าดงดิบไม่ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ ชอบอยู่กลุ่มละ 2 - 3 ตัว แต่โดยปกติแล้วชอบอยู่ลำพังตัวเดียว ออกหากินตอนเช้าตรู่ พลบค่ำและตอนกลางคืน โดยจะออกมาหากินตามทุ่งโล่ง ชายป่า ท้องนา แถวที่มีลูกไม้ป่า ชอบกินดินโป่ง เก้งหม้อมีระยะตั้งท้องนานประมาณ 6 เดือน ออกลูกครั้งละ 1 ตัว สถานภาพปัจจุบัน เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 สถานที่ชม สวนสัตว์ดุสิต สวนสัตว์เปิดเขาเขียว สวนสัตว์เชียงใหม่ สวนสัตว์สงขลา

ค่างดำ








ค่างดำ

ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Presbytis melalophos

ลักษณะทั่วไป ค่างดำมีสีเปลี่ยนแปลงได้มาก มีตั้งแต่สีดำจนถึงสีน้ำตาลไหม้จนถึงสีเทาอ่อน และสีน้ำตาลอ่อน และบางครั้งอาจพบค่างดำมีสีออกขาวด้วยก็ได้ สีด้านล่างปกติอ่อนกว่าสีด้านบนเล็กน้อย บางตัวอาจมีสีออกขาวที่หน้าอก ด้านในของขามีสีขาวเห็นเด่นชัด จากโคนขาด้านในขาวมาถึงเข่า และบางตัวอาจขาวเลยมาถึงข้อเท้า ด้านล่างของหางสีอ่อนกว่าด้านบน ริมฝีปากบนและล่างมีขอบขาว แต่วงแหวนขาวรอบตาเห็นไม่เด่นชัดเหมือนอย่างค่างแว่น มีขนแหลมยาวเป็นสันบนหัว และตั้งขึ้นจนดูคล้ายจุก ลูกเกิดใหม่มีสีเข้มที่แนวสันหลังและที่ไหล่ ถิ่นอาศัย, อาหาร พบในพม่า ไทย มาเลเซีย สุมาตรา และ บอร์เนียว สำหรับประเทศไทยพบตามแนวเทือกเขาตะนาวศรีและทางภาคใต้ เคยพบมากที่จังหวัดตรัง กระบี่ พังงา และสุราษฎร์ธานี ชอบกินใบไม้ ผลไม้ และแมลง

ค่างเทา








ค่างเทา(ค่างหงอก)
ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Presbytis cristatus
ลักษณะทั่วไป ขนส่วนด้านหลังของลำตัวมีสีเข้มเป็นสีเทาดำ แต่ปลายขนสีขาวจึงทำให้มองดูคล้ายสีเทาเหลือบเงิน ส่วนด้านหน้าของลำตัวคืออก ท้องและขาขนมีสีเทาอ่อน ที่หัวมีขนแหลมตรงกลางพุ่งขึ้น ขนด้านข้างของหน้ายาวพุ่งตรงออกด้านข้าง ใบหน้าและมือเท้าสีเทาดำ ไม่มีวงตาขาว ปากบาง ผิวหนังบางส่วนเช่นโคนขาด้านในด่างขาว ลูกค่างเกิดใหม่จะมีขนสีขาวที่หลังมือ,เท้า และตามร่างกาย น้ำหนักตัวประมาณ 6.8 กิโลกรัม ความยาวลำตัวประมาณ 493-570 มิลลิเมตร หางยาว 725-840 มิลลิเมตร ถิ่นอาศัย, อาหาร พบในพม่า ไทย กัมพูชา ลาว เวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย ประเทศไทยมีตามป่าดงดิบทุกภาค อาหารได้แก่ ใบไม้และตาอ่อนของพืช แมลง พฤติกรรม, การสืบพันธุ์ อาศัยในป่าทึบและป่าดงดิบทั่วไป ชอบอาศัยอยู่บนต้นไม้สูงๆ อาศัยอยู่เป็นฝูง ๆ ละ 10-40 ตัว ค่างเทาที่อายุมากแล้วมักแยกตัวไปอยู่โดดเดี่ยว ไม่รวมฝูงอยู่ด้วยกัน หากินตอนกลางวัน ส่วนใหญ่หากินบนต้นไม้ มีการใช้เสียงแตกต่างกันหลายระดับในการสื่อความหมาย แม้ว่าค่างเป็นสัตว์สังคมแต่ในฝูงจะมีการจัดลำดับชั้นทางสังคมกันน้อยมาก ค่างเทาเริ่มผสมพันธุ์ได้เมื่ออายุ 3-4 ปี ระยะตั้ง ท้องนาน 196 วัน ออกลูกครั้งละ 1 ตัว สถานภาพปัจจุบัน เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535
สถานที่ชม สวนสัตว์ดุสิต สวนสัตว์นครราชสีมา สวนสัตว์สงขลา
ชะนีแก้มขาว







ชะนีแก้มขาว

ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Hylobates concolor

ลักษณะทั่วไป ชะนีแก้มขาวมี 3 ชนิด คือ 1) H.c. concolor ชนิดนี้พบในเกาะไหหลำ ตัวผู้สีดำหมดทั้งตัว บริเวณใบหน้ามีขนสีขาวขึ้นแซมรอบดวงตา จมูกและปาก ส่วนตัวเมียสีนวลและมีสีดำอยู่กลางกระหม่อม 2) H.c. leucogenys ชนิดนี้อยู่ในประเทศลาวและเวียดนามเหนือ ตัวผู้มีสีดำ แต่ข้างแก้มมีสีขาว ส่วนตัวเมียมีสีทองหรือสีครีม ที่อกมีสีดำเรื่อ ๆ กลางกระหม่อมมีขนสีดำ 3) H.c. gabrieliae ชนิดนี้อยู่ทางใต้ของเวียดนามติดกับแดนเขมร ตัวผู้มีสีดำล้วน มีขนสีทองปนแดง บริเวณแก้มและคางมีสีขาว ตัวเมียมีสีนวล ที่หน้าอกเป็นสีดำเห็นได้ถนัด และที่หัวมีขนขึ้นเป็นสันสูงสีดำเห็นได้ชัด ชะนีแก้มขาวเกิดใหม่เป็นสีทอง เมื่ออายุ 6–8 เดือนมือเท้าและหัวเริ่มเปลี่ยนเป็นสีดำ หลังจากนั้นทั้งตัวผู้และตัวเมียจะค่อย ๆ เปลี่ยนเป็นสีดำสนิท ส่วนแก้มมีสีขาว เมื่ออายุได้ประมาณ 6-7 ปี ตัวเมียขนจะเปลี่ยนเป็นสีทองหรือสีครีม โดยพวก H.c. leucogenys จะมีสีดำที่หน้าอก ส่วน
ชะนีมือขาว

ชะนีมือขาว (ชะนีธรรมดา)

ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Hylobates lar
ลักษณะทั่วไป ชะนีมือขาวมีทั้งสีดำและสีขาว ส่วนหลังมือและหลังเท้าเป็นสีขาวและมีวงขาวรอบใบหน้า ใบหน้าและหูดำ มือยาว รูปร่างเพรียว ไม่มีหาง บางคนเรียกว่า “ชะนีปักษ์ใต้” ซึ่งความจริงแล้วก็คือชะนีมือขาวนั่นเอง ถิ่นอาศัย, อาหาร พบในพม่าแถบเทือกเขาตะนาวศรี ไทย ลาวและทางด้านตะวันออกของแม่น้ำสาละวิน ทางด้านตะวันตกของแม่น้ำโขงในลาว ทางด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ของยูนนาน มาเลเซีย และทางด้านทิศเหนือของเกาะสุมาตราสำหรับประเทศไทยพบได้


ชะนีมงกุฎ

ชะนีมงกุฎ(ชะนีหัวมงกุฎ)
ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Hylobates pileatus

ลักษณะทั่วไป ตัวผู้สีดำ ตัวเมียสีขาวนวล เมื่อเกิดใหม่สีขาวนวลเหมือนกัน พออายุ 4-6 เดือน ขนที่หน้าอกจะเปลี่ยนสีเป็นสีดำเกิดเป็นรูป
สามเหลี่ยมปลายแหลมลงที่ท้อง และบนหัวขนเปลี่ยนเป็นสีดำ เกิดขึ้นตรงกลางหัวเป็นรูปทรงกลม พออายุประมาณ 3-4 ปี ตัวผู้ขนจะเปลี่ยนเป็นสีดำทั่วตัว ยกเว้นคิ้ว ถุงอัณฑะ หลังมือหลังเท้าและวงรอบใบหน้า ซึ่งขนจะเป็นสีขาวดังเดิม รอบ ๆ จุดดำบนหัวจะมีขนสีขาวยาวเป็นลอนแซมขึ้นมาเห็นเด่นชัด ส่วนตัวเมียขนทั่วตัวไม่เปลี่ยนสีดำ สีขนจะคงเดิม ที่หน้าอกและบนหัวจะมีสีดำ มองดูที่หน้าอกคล้ายผูกเอี๊ยมดำและ บนหัวดูคล้ายเป็นมงกุฎสีดำ ขนรอบจุดดำบนหัวเป็นลอนยาวสีขาวเช่นเดียวกับตัวผู้ ถิ่นอาศัย, อาหาร พบในประเทศลาวและกัมพูชาทางด้านทิศตะวันตกของแม่น้ำโขง สำหรับประเทศไทย พบทางทิศตะวันออก เช่น จังหวัดสุรินทร์ บุรีรัมย์ ปราจีนบุรี ตราด และพบที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ด้วย กินผลไม้ ยอดไม้ ไข่นก และแมลงต่างๆ พฤติกรรม, การสืบพันธุ์ มีพฤติกรรมและการสืบพันธุ์เหมือนชะนีทั่วไป แต่มีนิสัยดุร้ายเมื่อโตเต็มที่แล้ว เมื่อมีอายุ 7-8 ปีจึงผสมพันธุ์ได้ ตั้งท้องนานประมาณ 240 วัน ออกลูกครั้งละ 1 ตัว 14สถานภาพปัจจุบัน เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 สถานที่ชม สวนสัตว์ดุสิต สวนสัตว์เปิดเขาเขียว สวนสัตว์เชียงใหม่ สวนสัตว์นครราชสีมา สวนสัตว์สงขลา
ชะมดเช็ด

ชะมดเช็ด
ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Viverricula malaccensis
ลักษณะทั่วไป ชะมดเช็ดมีขนาดเล็กกว่าชะมด หรืออีเห็นชนิดอื่น ขนสีน้ำตาลจาง มีลายสีดำอยู่บนหลัง 5 ลาย ลายยาวจากคอถึงโคนหาง ข้างตัวมีลายเป็นจุดสีดำเรียงเป็นแนววิ่งไปตามความยาวของลำตัว หางเป็นปล้องสีขาวสลับดำ 6 - 9 ปล้อง ส่วนปลายหางเป็นสีขาวเสมอ ไม่มีขนแผงหรือขนตั้งชันที่คอหรือหลังเหมือนอย่างชะมดแผง หน้าผากแคบเหมือนหน้าหนู ขาค่อนข้างสั้น ถิ่นอาศัย, อาหาร อินเดีย ศรีลังกา จีนตอนใต้ พม่า ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย อินโดนิเซีย ชะมดเช็ดกินสัตว์เล็กๆเป็นอาหารเช่น ไก่ นก หนู งู จิ้งเหลน กิ้งก่า ตลอดจนผลไม้ต่างๆและรากไม้บางชนิด พฤติกรรม, การสืบพันธุ์ อาศัยตามป่ารกทั่วไป แต่ไม่ขึ้นต้นไม้เหมือนพวกชะมดชนิดอื่น วิ่งได้เร็วมาก หากินบนพื้นดิน เป็นสัตว์หากินกลางคืนเหมือนชะมดทั่วไป กลางวันนอนตามใต้พุ่มไม้เตี้ย ๆ หรือตามกอหญ้าสูง ๆ บางครั้งอาจพบอยู่ตามต้นไม้ ชะมดเช็ดมีต่อมใกล้ทวารหนัก ซึ่งขับของเหลวมีกลิ่นฉุน โดยธรรมชาติสัตว์จะเช็ดของเหลวนี้กับตอไม้หรือกิ่งไม้ จึงเรียกชื่อสัตว์ชนิดนี้ว่า “ชะมดเช็ด” ของเหลวดังกล่าวนี้ใช้ทำยาและน้ำหอมได้ ต่อมกลิ่นที่ก้นชะมดเช็ดมีอยู่ทั้งในตัวผู้และ ตัวเมีย แต่ของตัวเมียเล็กกว่า บางครั้งเรียกว่า Musk Civet
ชะมดเช็ดผสมพันธุ์ได้เมื่อมีอายุประมาณ 2 ปี ไม่มีฤดูผสมพันธุ์ ตั้งท้องประมาณ 2 เดือน ออกลูกครั้งละ 2-4 ตัว จะออกลูกในโพรงดินซึ่งอยู่ใกล้ต้นไม้หรือตอไม้ ตัวเมียจะเลี้ยงลูก ส่วนตัวผู้จะอยู่กับตัวเมียเฉพาะตอนผสมพันธุ์เท่านั้น ชะมดเช็ดมีอายุยืนเกือบ 10 ปี สถานภาพปัจจุบัน เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 สถานที่ชม สวนสัตว์ดุสิต สวนสัตว์เปิดเขาเขียว สวนสัตว์เชียงใหม่
ช้างเอเชีย




ช้างเอเซีย

ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Elephas maximus

ลักษณะทั่วไป ตัวผู้มีงาเรียกว่า "ช้างพลาย" แต่บางตัวไม่มีงาเรียก "ช้างสีดอ" ตัวเมียปกติไม่มีงาเรียก "ช้างพัง" แต่บางตัวอาจมีงาสั้น ๆ เรียกว่า "ขนาย" หนังบริเวณลำตัวหนาราว 1.9-3.2 เซนติเมตร เป็นสัตว์กระเพาะเดียว มีฟัน 26 ซี่ งาคือฟันตัดที่เปลี่ยนแปลงไป จมูกเป็นงวงยาว หลังโก่งโค้งเป็นรูปโดมตลอดแนวหลัง เท้าหน้ามีเล็บ 5 เล็บ เท้าหลังมี 4 เล็บ ปลายงวงมีติ่ง น้ำหนักประมาณ 3-4 ตัน ถิ่นอาศัย, อาหาร ช้างเอเชียพบในเนปาล บังคลาเทศ อินเดีย ศรีลังกา พม่า ไทย ลาว กัมพูชา มาเลเซีย สุมาตรา ได้แก่ หญ้า ใบไม้ หน่อไม้อ่อน ชอบกินต้นไผ่อ่อนและใบไผ่มาก ในหน้าแล้งชอบกินใบตองและหยวกกล้วยเป็นพิเศษ พฤติกรรม, การสืบพันธุ์ ชอบอยู่รวมกันเป็นโขลง แต่ละโขลงจะมีตัวเมียเป็นจ่าโขลง ส่วนใหญ่ช้างออกหากินในเวลากลางคืน โดยจ่าโขลงจะเป็นผู้นำโขลงในการออกหากิน หาแหล่งน้ำหรือนำโขลงหนีศัตรู ช้างเป็นสัตว์ที่กินอาหารจุมาก ในขณะที่ช้างยังตื่นอยู่จะกินอาหารเกือบตลอดเวลา ช้างทั้งโขลงมีนิสัยชอบทำอะไรพร้อมๆกัน คือเมื่อถึงเวลาออกหาอาหารก็จะออกหาอาหารพร้อมๆกัน เมื่อจะหยุดก็จะหยุดพร้อมๆกัน ช้างจะยืนนอน แต่มีบ้างเหมือนกันที่นอนตะแคงหลับ ช้างเอเชียผสมพันธุ์ได้เมื่อมีอายุได้ 8 -12 ปี ตั้งท้องนาน 19 -21 เดือน ออกลูกครั้งละ 1 ตัว อายุยืนประมาณ 70 ปี สถานภาพปัจจุบัน เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 สถานที่ชม สวนสัตว์ดุสิต สวนสัตว์เปิดเขาเขียว สวนสัตว์เชียงใหม่ สวนสัตว์สงขลา
ตัวกินมด

ตัวกินมด
ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Tamandua tetradactyla
ลักษณะทั่วไป ขนสีดำ หรือสีน้ำตาลเข้ม หูยาวกว่า Northern tamadua และกระโหลกกว้างกว่า สามารถเคลื่อนที่บนพื้นได้ดีพอ ๆ กับการปีนต้นไม้ หางของมันจะโค้งจับกิ่งไม้ได้เหมือนเป็นมือที่ 5 ขาหน้าจะมีนิ้วที่มีเล็บยาวประมาณ 2 นิ้วและนิ้วอื่น ๆ จะเล็กกว่า ขาหลังมี 4 นิ้ว และมีเล็บที่แข็งแรงมาก ใช้คุ้ยเขี่ยเศษใบไม้ตามพื้นหาอาหารกิน ถิ่นอาศัย, อาหาร พบได้หลายบริเวณ เช่นที่ราบป่าดิบชื้นจนถึงที่ราบสูงป่าดิบชื้น ป่าผลัดใบ ทุ่งหญ้า ป่าหนามสะวันนา ในอเมริกาใต้ พบบริเวณเทือกเขาแอนดิสทางตอนใต้ อาหารได้แก่ มด ปลวกและแมลงเล็ก ๆ หรือผลไม้ผลเล็ก ๆ พฤติกรรม, การสืบพันธุ์ มีความสามารถในการดมกลิ่นที่ดี มีประสาทหูไว และปรับตัวเก่ง ตัวเมียตั้งท้องนาน 6 เดือน ออกลูกครั้งละ 1 ตัว ลูกจะเกาะหลังแม่ 3 เดือน ลูกจะอยู่ใกล้ชิดแม่เพื่อเรียนรู้และหาอาหาร 10-12 สัปดาห์ หลังจากนั้นจะออกหากินเอง กินน้ำจากใบไม้ เมื่อใกล้ผสมพันธุ์ตัวผู้จะดมและเลียปากตัวเมีย ขณะผสมพันธุ์มันจะกอดตัวเมียและกดตัวเมียลงที่ท้องของมัน ตัวเมียจะเป็นสัดทุก 4 สัปดาห์ สังเกตได้จากมันจะเฉื่อยชากว่าปกติ, นอนมาก และไม่อยากจะทำอะไร สถานภาพปัจจุบัน สถานที่ชม สวนสัตว์เปิดเขาเขียว
นากเล็กเล็บสั้น

นากเล็กเล็บสั้น
ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Aonyx cinerea
ลักษณะทั่วไป มีขนาดเล็ก ลำตัวอ้วนสั้น แข็งแรง ลำตัวตอนบนสีน้ำตาลเทา ตอนล่างลำตัวสีอ่อนกว่า ใต้คางและคอด้านล่างสีขาวนวล มีเล็บสั้นทื่อโค้งไม่ยื่นออกมาพ้นปลายนิ้ว เยื่อระหว่างนิ้วเท้ามีเล็กน้อย หางแข็ง หูเล็ก ขนสั้นเรียบเป็นมัน ถิ่นอาศัย, อาหาร พบในจีน พม่า อัสสัม เนปาล สิกขิม อินเดีย ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย บอร์เนียว สุมาตรา ชวา ฟิลิปปินส์ อาหารของนากนอกจากปลาแล้วยังกินหอย ปู บางครั้งนากจะขึ้นบกเพื่อหาสัตว์เล็ก ๆ และแมลงกิน พฤติกรรม, การสืบพันธุ์ ชอบหากินอยู่ในน้ำ ว่ายน้ำเก่ง ชอบอาศัยอยู่ตามห้วย ลำธาร ในป่าตามบึง หนอง เมื่อว่ายน้ำจะใช้หางโบกขึ้นลงทำให้ตัวเคลื่อนไปในน้ำได้อย่างรวดเร็ว ชอบอยู่รวมเป็นกลุ่ม แต่ในฤดูผสมพันธุ์จะอยู่เป็นคู่ นากจะผสมพันธุ์ในน้ำ และออกลูกครั้งละ 2-4 ตัว สถานภาพปัจจุบัน เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 สถานที่ชม สวนสัตว์ดุสิต สวนสัตว์เปิดเขาเขียว สวนสัตว์เชียงใหม่



เนื้อทราย


เนื้อทราย(ตามะแน)
ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Cervus porcinus

ลักษณะทั่วไป เป็นกวางขนาดกลาง มีความสูงประมาณ 140-150 เซนติเมตร ขนสีน้ำตาลเข้ม ด้านล่างลำตัวสีจางกว่า มีเขาเฉพาะในตัวผู้ข้างละ 3 กิ่ง ผลัดเขาทุกปี ลูกเกิดใหม่มีลายจุดขาวตามตัวลายจะหายไปเมื่อโตขึ้น นัยน์ตามีน้ำตาหล่อเลี้ยงตลอดเวลา เป็นกวางที่สวยงามมากชนิดหนึ่ง ถิ่นอาศัย, อาหาร พบในอินเดีย เนปาล พม่า ศรีลังกา ไทย ลาวกัมพูชา เวียดนาม ในไทยพบมากทางภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ไม่พบทางภาคใต้ กินหญ้า ใบไม้ และผลไม้ พฤติกรรม, การสืบพันธุ์ มักพบหากินเป็นฝูงตามป่าโปร่งหรือป่าทุ่งหญ้าที่ราบลุ่มริมฝั่งน้ำ ปกติออกหากินในตอนเย็นถึงเช้าตรู่ เป็นสัตว์ที่ระวังภัย ตื่นตัวตลอดเวลา ตัวผู้มักต่อสู้กันอย่างดุร้ายในฤดูผสมพันธุ์ เนื้อทรายเริ่มผสมพันธุ์ได้เมื่อมีอายุ 2 ปี ระยะตั้งท้องนาน 8 เดือน ออกลูกครั้งละ 1 ตัว สถานภาพปัจจุบัน เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 สถานที่ชม สวนสัตว์เปิดเขาเขียว สวนสัตว์เชียงใหม่ สวนสัตว์นครราชสีมา สวนสัตว์สงขลา
ไนอาลา

ไนอาลา
ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Tragelaphus angasi
ลักษณะทั่วไป เป็นแอนติโลพขนาดค่อนข้างใหญ่ ตัวผู้สีพื้นลำตัวจะเป็นสีเทา และมีแถบสีขาวข้างลำตัว 3-14 แถบ ส่วนขาด้านล่างจะเป็นสีน้ำตาลเหลือง ตัวเมียจะมีขนาดเล็กกว่าและไม่มีเขา สีของลำตัวจะเป็นสีน้ำตาลเหลือง น้ำหนัก ตัวเมียราว 62 กิโลกรัม ส่วนของตัวผู้ราว108 กิโลกรัม ถิ่นอาศัย, อาหาร พบในป่าโปร่ง ทุ่งหญ้าสะวันนาบริเวณที่อยู่ใกล้แหล่งน้ำในทวีปแอฟริกา กินใบไม้เป็นหลักร่วมทั้งหญ้าในช่วงที่มีฝนตก พฤติกรรม, การสืบพันธุ์ จะเห็นเป็นกลุ่มขนาดเล็ก เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงสมาชิกกลุ่ม ไนอาลาตัวแม่และลูกจะเป็นตัวหลักในกลุ่ม ตัวผู้ส่วนใหญ่จะอยู่โดดเดี่ยว ไนอาลามีระยะการตั้งท้อง 220 วัน ออกลูกครั้งละ 1 ตัว สถานภาพปัจจุบัน สถานที่ชม สวนสัตว์เชียงใหม่ สวนสัตว์นครราชสีมา สวนสัตว์สงขลา


แบลคบัค
แบลคบัค
ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Antilope cervicapra
ลักษณะทั่วไป เป็นแอนติโลปแท้จำพวกหนึ่ง รูปร่างคล้ายกับกาเซลล์ ตัวผู้ที่มีอายุน้อยและตัวเมียมีสีน้ำตาลอ่อน พื้นท้องและใบหน้าสีขาว ส่วนตัวผู้ที่อายุมากมีสีดำหรือสีน้ำตาลเทาแก่ ๆ มีวงขาวรอบตาเห็นได้ชัดเจน มีสีขาวแซมตรงปลายจมูกรอบ ๆ ตา ด้านในของขาและพื้นท้องลำตัวมีสีขาว มีเขาเฉพาะตัวผู้ เขาเป็นเกลียวยาว ถิ่นอาศัย, อาหาร พบในอินเดียแถบแคว้นปัญจาบ บังคลาเทศ และทางภาคใต้ของอินเดียแถบแหลมโคโมริน ปัจจุบันถูกนำไปเลี้ยงตามสวนสัตว์ต่าง ๆ อย่างแพร่หลายกว่าแอนติโลปชนิดอื่น กินหญ้าเป็นอาหาร พฤติกรรม, การสืบพันธุ์ ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงเล็ก ๆ 6 – 10 ตัว หรือมากกว่านี้ ชอบอยู่ตามทุ่งหญ้าโล่ง โดยเฉพาะตามพงหญ้าสูง ๆ ไม่ชอบอยู่ตามเชิงเขาหรือในป่า ในฝูงหนึ่งจะมีตัวผู้โตเต็มที่มีสีดำหนึ่งตัว นอกนั้นเป็นตัวเมีย 6 – 8 ตัว พร้อมลูกน้อยของมัน และตัวผู้อายุน้อยอีก 2 – 3 ตัว ในฤดูผสมพันธุ์ตัวผู้จะต่อสู้กัน อย่างดุร้ายเพื่อแย่งตัวเมีย ต่อมกลิ่นหน้าลูกตาปกติใช้ถูไถกับกิ่งไม้ข้างทาง โดยทิ้งกลิ่นติดไม้ไว้เป็นเครื่องหมายกันหลงทาง ขณะผสมพันธุ์หรือเวลาตื่นเต้น ต่อมกลิ่นดังกล่าวจะขับสารออกมามาก แบลคบัคเป็นสัตว์มีฝีเท้าเร็วมาก กระโดดข้ามรั้วสูงได้ เวลาตกใจสามารถกระโดดสูงขึ้นไปกลางอากาศได้ ตาไวมากสามารถมองเห็นศัตรูได้รวดเร็ว เวลามีอันตรายลูกเล็ก ๆ จะซ่อนตัวอยู่ในพงหญ้า แบลคบัคเป็นสัตว์ปราดเปรียวมาก ตื่นตกใจง่าย เลี้ยงให้เชื่องได้ยาก แบลคบัคผสมพันธุ์ได้เมื่อมีอายุประมาณ 1 ปีเต็ม ตั้งท้องนาน 6 เดือน ปกติออกลูกตัวเดียว มีอายุยืนประมาณ 15 ปี สถานภาพปัจจุบัน สถานที่ชม สวนสัตว์นครราชสีมา
พังพอนธรรมดา

พังพอนธรรมดา
ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Herpestes javanicus
ลักษณะทั่วไป ตัวโตกว่ากระรอกเล็กน้อย ตัวผู้มีขนาดใหญ่กว่าตัวเมียมาก ขนสีน้ำตาลแดง ปลายจมูกแหลม หูสั้นกว่าลำตัว เมื่อตกใจหรือจะต่อสู้ ขนตามลำตัวตั้งชันขึ้นมาได้ ถิ่นอาศัย, อาหาร มีถิ่นอาศัยอยู่ใน อิหร่าน อินเดีย อินโดจีน ไทย มาเลเซีย และชวา ชอบกินเนื้อสัตว์เล็กต่างโดยเฉพาะอย่างยิ่ง งู และหนู รวมทั้ง กบ เขียด ปู เป็ด ไก่ นก แมลง และผลไม้ พฤติกรรม, การสืบพันธุ์ เป็นสัตว์หากินทั้งกลางวันและกลางคืน นอนในโพรงดิน ไม่ชอบไต่ขึ้นต้นไม้ ชอบป่าหญ้าหรือตามป่าโปร่งมากกว่าป่าทึบ เป็นสัตว์ที่ว่องไวมาก พังพอนเริ่มผสมพันธุ์ ได้เมื่อมีอายุ 2 ปี ระยะตั้งท้องนาน 6 สัปดาห์ ออกลูกครั้งละ 2-4 ตัว มีอายุยืนประมาณ 12 ปี สถานภาพปัจจุบัน เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 สถานที่ชม สวนสัตว์ดุสิต สวนสัตว์เชียงใหม่ สวนสัตว์นครราชสีมา สวนสัตว์สงขลา

พังพอนกินปู

พังพอนกินปู(พังพอนยักษ์)

ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Herpestes urva
ลักษณะทั่วไป ตัวใหญ่กว่าพังพอนชนิดอื่น มีแถบขาวด้านข้างของลำคอทั้งสองด้านจากมุมปากถึงไหล่ หางค่อนข้างสั้น ขนหยาบ หลังสีเทาและดำ คางและแก้มขาว ถิ่นอาศัย, อาหาร พบในพม่า อินโดจีน ไต้หวัน ไทย สำหรับประเทศไทยพบตามป่าชายเลน ทางภาคตะวันออกและตะวันตกเฉียงใต้ ชอบกินปู หอย และสัตว์เล็กๆอื่นๆเช่น ปลา กบ เขียด พฤติกรรม, การสืบพันธุ์ ชอบอยู่ตามป่ารกริมน้ำ ส่วนใหญ่หากินเวลากลางคืน เป็นสัตว์ที่ว่ายน้ำเก่ง พังพอนยักษ์มีระยะตั้งท้องนาน 2 เดือน ออกลูกครั้งละ 2-4 ตัว สถานภาพปัจจุบัน เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 สถานที่ชม สวนสัตว์ดุสิต




เพียงพอนเล็กสีน้ำตาล

ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Mustela nudipes
ลักษณะทั่วไป ลักษณะและขนาดคล้ายพังพอนธรรมดา แต่มีขนสีแตกต่างกัน มีตั้งแต่สีขาวปนเทาจนถึงน้ำตาลแดง หัวและจมูกสีซีดกว่าลำตัว ปลายหางขาว ตัวเมียมีนม 4 เต้า ฝ่าเท้าไม่มีขน ถิ่นอาศัย, อาหาร เพียงพอนเล็กสีน้ำตาลมีถิ่นอาศัยในทางตอนใต้ของประเทศไทย มาเลเซีย สุมาตรา บอร์เนียว กินพวกสัตว์เล็กๆ เช่น กบ หนู เขียด แมลง และเป็ด ไก่ พฤติกรรม, การสืบพันธุ์ ชอบหากินตามพื้นดินเวลากลางคืน และตามปกติแล้วไม่ขึ้นต้นไม้ เพียงพอนเล็กสีน้ำตาลออกลูกครั้งละ 1 – 4 ตัว สถานภาพปัจจุบัน เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 สถานที่ชม สวนสัตว์สงขลา


มารา


มารา
ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Dolichotis patagonum
ลักษณะทั่วไป มีใบหน้าและหูคล้ายกระต่าย แต่มีลำตัวคล้ายสุนัขหรือกวางขนาดเล็ก ลำตัวยาวประมาณ 70 - 75 เซนติเมตร มีหางสั้นประมาณ 4 - 5 เซนติเมตร ลำตัวมีขนสีน้ำตาล ด้านท้องมีสีขาวปนน้ำตาลแดง มีขนบริเวณ ก้นสีขาว ขาคู่หลังเรียวยาวกว่าขาคู่หน้า เท้าหน้ามี4 นิ้ว เท้าหลังมี 3 นิ้ว และมีใบหูใหญ่ ถิ่นอาศัย, อาหาร พบแพร่กระจายบริเวณทุ่งหญ้าแพมพัสในตอนกลางและตอนใต้ของประเทศอาเจนตินา อาหารได้แก่หญ้า พืช เปลือกไม้ รากไม้ พฤติกรรม, การสืบพันธุ์ มาราตั้งท้องนาน 90 - 93 วัน น้ำหนักแรกเกิด 400 - 450 กรัม หย่านมเมื่ออายุ 2-3 เดือน วัยเจริญพันธุ์อายุ 1 - 5 ปี มีอายุยืน 10 - 15 ปี สถานภาพปัจจุบัน สถานที่ชม สวนสัตว์เปิดเขาเขียว สวนสัตว์เชียงใหม่

ม้าลาย










ม้าลาย
ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Equus burchellii


ลักษณะทั่วไป พบทั่วไปในทวีปแอฟริกาแถบที่ราบโล่งทางตอนใต้ของทะเลทรายซาฮาร่า ถิ่นอาศัย, อาหาร พบทั่วไปในทวีปแอฟริกาแถบที่ราบโล่งทางตอนใต้ของทะเลทรายซาฮาร่า กินหญ้าและเมล็ดพืช พฤติกรรม, การสืบพันธุ์ ชอบอาศัยอยู่ตามที่ราบโล่งที่เป็นหญ้า ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง ฝูงหนึ่งมีหลายร้อยตัวจนถึงเป็นพันก็มี โดยจะเล็มหญ้าหากินร่วมกับสัตว์อื่นในทุ่งกว้าง เช่น นกกระจอกเทศ ยีราฟ แอนตีโลป และสัตว์กีบชนิดอื่นๆ ม้าลายมักจะมีนกกินแมลงจับเกาะอยู่บนหลัง เพื่อช่วยระวังภัยและกินพวกแมลงที่มารบกวน และมีนกกระจอกเทศและยีราฟคอยช่วยเป็นป้อมยามคอยเตือนภัยและระวังภัยให้ เพราะม้าลายสายตาไม่ค่อยดี แต่จมูกและหูไวมาก ฟันคม ม้าลายเริ่มผสมพันธุ์ได้เมื่อมีอายุประมาณ 2 ปี ตั้งท้องนานประมาณ 345-390 วัน ออกลูกครั้งละ 1 ตัว มีอายุยืนประมาณ 25-30 ปี สถานภาพปัจจุบัน สถานที่ชม สวนสัตว์ดุสิต สวนสัตว์เปิดเขาเขียว สวนสัตว์เชียงใหม่ สวนสัตว์นครราชสีมา สวนสัตว์สงขลา


เม่นหางพวง

เม่นหางพวง
ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Atherurus macrourus
ลักษณะทั่วไป เป็นสัตว์ฟันแทะเช่นเดียวกับเม่นชนิดอื่น แต่ตัวเล็กกว่า ขนบริเวณหลังยาวมากและจะค่อย ๆ สั้นลง ส่วนท้ายของลำตัวขนมีลักษณะแบน และเป็นร่องยาวอยู่ทางด้านบน เม่นหางพวงไม่มีขนตลอดทั่วทั้งหาง แต่ที่โคนหางจะมีขนสั้น ช่วงกลางหางมีเป็นเกล็ดๆ และที่ปลายหางมีขนขึ้นหนาเป็นกระจุกดูคล้ายเป็นพวง ขนดังที่กล่าวมานี้จะแบนคล้ายกระดาษและแหลมแข็ง แต่ขนที่หัว ขาทั้งสี่และบริเวณใต้ท้องเป็นขนแหลมแต่ไม่แข็ง ขาสั้น หูกลมเล็ก เท้ามีเล็บตรงทู่แข็งแรง เหมาะสำหรับขุดคุ้ยดิน ถิ่นอาศัย, อาหาร เม่นหางพวง พบในประเทศจีนทางตอนใต้ เกาะไหหลำ อัสสัม พม่า ไทย อินโดจีน มาเลเซียและสุมาตรา สำหรับประเทศไทยพบทั่วไป แต่มีมากที่จังหวัดตรัง กินผัก หญ้า เผือก มัน หน่อไม้ ผลไม้ รากไม้บางชนิด กระดูกสัตว์ แมลง และเขาสัตว์ พฤติกรรม, การสืบพันธุ์ เม่นหางพวงพบตามป่าทั่วไป ชอบอาศัยอยู่ตามป่าใกล้น้ำ ลำธาร ลำห้วย ชอบ ขุดดินเป็นรูและเป็นโพรงชอนไปใต้ดินลึก ๆเป็นโพรงกว้าง 3–4 ฟุต ซึ่งพอสำหรับครอบครัว คือ พ่อ แม่ ลูก อยู่ได้อย่างสบาย บางครั้งขุดรูอยู่ใกล้ริมตลิ่ง ชอบออกหากินในเวลากลางคืนและไปด้วยกันหลายตัว ส่วนกลางวันมักนอนหลบซ่อนตัวในโพรงดิน หรือหลบซ่อนตัวตามรากโคนต้นไม้ใหญ่ หรือซอกหิน เม่นหางพวงวิ่งได้เร็วพอใช้ ขณะวิ่งชอบสบัดหางให้สั่นเพื่อให้เกิดเสียงขณะวิ่ง เพราะขนกระทบกันเอง เป็นการทำให้สัตว์อื่นตกใจกลัว เมื่อมีอายุ 2 ปีเม่นหางพวงจึงผสมพันธุ์ได้ ฤดูผสมพันธุ์ไม่แน่นอน ตั้งท้องนาน 4 เดือน ออกลูกครั้งละ 1–4 ตัว อายุยืนนาน 10 ปีเศษ สถานภาพปัจจุบัน เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 สถานที่ชม สวนสัตว์ดุสิต สวนสัตว์เปิดเขาเขียว
เม่นใหญ่แผงคอยาว

เม่นใหญ่แผงคอยาว

ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Hystrix brachyura

ลักษณะทั่วไป มีลำตัวค่อนข้างใหญ่กว่าเม่นชนิดอื่น มีขนบนสันคอเป็นเส้นอ่อน ๆ ตั้งขึ้นดูคล้ายกับแผงคอ ขนตามลำตัวท่อนหน้ามีสีน้ำตาลไหม้เป็นขนค่อนข้างสั้น ส่วนขนตามลำตัวท่อนหลังเป็นขนยาวมีสีขาวและมีวงรอบขนสีดำอยู่กลางขน ถิ่นอาศัย, อาหาร พบใน ไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ สุมาตรา บอร์เนียว พบในป่าทุกชนิด อาศัยตามโพรงดิน ซอกหินตามป่า เม่นใหญ่แผงคอยาวกินผัก หญ้า เผือก มัน หน่อไม้ เปลือกไม้บางชนิด ผลไม้ กระดูกสัตว์ และเขาสัตว์ พฤติกรรม, การสืบพันธุ์ สามารถปรับตัวให้อาศัยในหลากหลายสภาพแวดล้อม หากินเวลากลางคืน ในเวลากลางวันจะหลบอยู่ในโพรงดิน เมื่อพบศัตรูจะแสดงอาการขู่ โดยกระทืบเท้า ตั้งขนขึ้นและสั่นหางทำให้เกิดเสียงดัง เม่นไม่สามารถสลัดขนไล่ศัตรูได้ แต่ขนเม่นหลุดง่าย เมื่อศัตรูถูกขนเม่นตำ ขนจึงหลุดติดไปกับศัตรู เม่นใหญ่แผงคอยาวเริ่มผสมพันธุ์ได้เมื่อมีอายุ 2 ปี ระยะตั้งท้องนาน 4 เดือน ออกลูกครั้งละ 2-3 ตัว สถานภาพปัจจุบัน เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 สถานที่ชม สวนสัตว์ดุสิต สวนสัตว์เปิดเขาเขียว สวนสัตว์เชียงใหม่ สวนสัตว์นครราชสีมา
เมียร์แคท






เมียร์แคท

ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Suricata suricata

ลักษณะทั่วไป เมียร์แคทหนึ่งในสมาชิกสัตว์ป่าของทวีปแอฟริกา มีลักษณะ หัวสั้น หน้ากว้าง จะมีจมูกยื่นยาวเพื่อประโยชน์ในการดมกลิ่น รอบขอบตาเป็นวงแหวนสีดำ มีนิ้วเท้าสี่นิ้ว มีขนสีน้ำตาลทองสลับดำขวางลำตัว หางยาวและส่วนปลายมีสีดำ เป็นสัตว์ในตระกูลเดียวกับพังพอน และชะมด ถิ่นอาศัย, อาหาร พบในประเทศแอฟริกาใต้ เมียร์แคทกินแมลงปีกแข็งและ หนอนผีเสื้อ รวมทั้งสัตว์มีกระดูกสันหลังเล็กๆ พฤติกรรม, การสืบพันธุ์ ไม่ชอบอยู่กับที่ ชอบยืนชะเง้อคอ เพื่อตรวจดูและดมกลิ่นในบริเวณรอบๆ จะออกมารับแสงอาทิตย์ในช่วงเวลาเช้าเพื่อให้ร่างกายอบอุ่น จะอาศัยรวมอยู่กันเป็นกลุ่ม บางกลุ่มอาจมีถึง 30 ตัว บางครั้งอาจพบอาศัยอยู่กับพวกกระรอกและเมียร์แคทแดง สัตว์ชนิดนี้จะมีประสาทสัมผัส ที่ดี โดยเฉพาะเรื่องการรับฟังเสียงจะสามารถได้ยินเสียงในรัศมีถึง 160 ฟุต (50เมตร) และจะอพยพย้ายที่อยู่เมื่อมีภัย นอกจากนี้เมียร์แคทจะขุดรูหรือโพรงถ้ำลึกลงไปในดิน โพรงดินที่สร้างขึ้นสามารถเชื่อมต่อกัน ทำให้มีช่องทางเข้าออกมากขึ้นและช่วยให้มันมีทางหลบหนีเมื่อมีภัยอีกด้วย เมียร์แคทจะขยายพันธุ์เมื่อมีอายุประมาณ 1 ปี จะออกลูกตามโพรง, ถ้ำ ช่วงฤดูผสมพันธุ์คือเดือน ตุลาคม-มีนาคม ระยะเวลาตั้งท้องประมาณ 11 สัปดาห์ ออกลูกครั้งละ 2-5 ตัว สถานภาพปัจจุบัน สถานที่ชม สวนสัตว์ดุสิต สวนสัตว์เปิดเขาเขียว สวนสัตว์เชียงใหม่ สวนสัตว์สงขลา

แมวดาว

แมวดาว
ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Prionailurus bengalensis
ลักษณะทั่วไป รูปร่างคล้ายแมวขนาดใหญ่ มีสีน้ำตาลแกมเหลือง หูค่อนข้างยาว หลังหูสีดำมีจุดขาวตรงกลาง ตามตัวมีจุดสีน้ำตาลแกมดำเป็นจุดใหญ่อยู่ทั่วไป ถิ่นอาศัย, อาหาร มีถิ่นอาศัยอยู่ในสหภาพโซเวียต จีน ไต้หวัน อินโดจีน อินเดีย บังคลาเทศ พม่า มาเลเซีย อินโดนีเซีย และเกาะพาลาวัน ในประเทศไทยพบอยู่ตามป่าทั่วทุกภาค แมวดาวกินนก หนู กระรอก กระแต จิ้งเหลน กิ้งก่า เป็ด ไก่ รวมทั้งงูด้วย พฤติกรรม, การสืบพันธุ์ หากินเวลากลางคืนทั้งบนดินและต้นไม้ ชอบนอนในโพรง บางครั้งกระโจนจากต้นไม้เพื่อจับสัตว์กิน เป็นสัตว์ที่ว่ายน้ำเก่ง แมวดาวเริ่มผสมพันธุ์ได้เมื่อมีอายุ 2 ปี ระยะตั้งท้องนาน 70 วัน ออกลูกครั้งละ 2-3 ตัว สถานภาพปัจจุบัน เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 สถานที่ชม สวนสัตว์ดุสิต สวนสัตว์เปิดเขาเขียว สวนสัตว์เชียงใหม่ สวนสัตว์นครราชสีมา สวนสัตว์สงขลา

แมวป่า
แมวป่า(เสือกระต่าย)
ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Felis chaus
ลักษณะทั่วไป แมวป่ามีรูปร่างคล้ายแมวบ้าน แต่มีขนาดใหญ่กว่าและขายาวกว่าเล็กน้อย หูตั้งยาว มีขนสีดำที่ปลายหูเป็นพู่ ด้านล่างของโคนหูสีส้มแกมเหลือง ขนใต้ท้องมีสีอ่อนเกือบขาว ตามตัวไม่มีลาย แต่ที่ขามีลายบ้าง หางมีลายเป็นปล้องดำและหางค่อนข้างสั้น ถิ่นอาศัย, อาหาร พบได้ตลอดทั่วทั้งเอเชีย ตั้งแต่ดินแดนสามเหลี่ยมของแม่น้ำโวก้าในรัสเซียลงมาถึงปาเลสไตน์ อินเดีย เนปาล ศรีลังกา พม่า ไทย อินโดจีน สำหรับประเทศไทยมีทั่วไปเกือบทุกภาค ยกเว้นภาคกลาง มีตามป่าซึ่งไม่ค่อยรกทึบนัก แมวป่ากินสัตว์เล็กต่างๆ เป็นอาหาร เช่น หนู กระต่าย กิ้งก่า กบ เขียด นก ซากสัตว์ที่เสือใหญ่เหลือทิ้งไว้ก็กิน ชอบกินกระต่ายเป็นอาหาร ดังนั้นแมวป่าชนิดนี้จึงมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า“ เสือกระต่าย” เสียงร้องของมันคล้ายแมวบ้านมาก พฤติกรรม, การสืบพันธุ์ แมวป่าหรือเสือกระต่ายชอบอยู่ตามป่าโปร่งที่มีต้นหญ้าสูงๆ หรือป่าละเมาะ ชอบอยู่ใต้พุ่มไม้ใบหนา ไม่ชอบขึ้นต้นไม้ และชอบอยู่ริมตลิ่งหรือใต้พุ่มไม้ริมน้ำ เป็นสัตว์หากินกลางวันมากกว่ากลางคืน แมวป่าผสมพันธุ์ได้เมื่อมีอายุประมาณ 2 ปี ฤดูผสมพันธุ์ไม่แน่นอน ตั้งท้องนานประมาณ 66 วัน ตกลูกครั้งละ 2-4 ตัว สามารถมีลูกได้ปีละ 2 ครั้ง ออกลูกตามโพรงดินใกล้ ๆโคนไม้ใหญ่ หรือตามพุ่มไม้รกๆ มีอายุยืนประมาณ 10 ปีเศษ สถานภาพปัจจุบัน เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 สถานที่ชม สวนสัตว์เปิดเขาเขียว สวนสัตว์เชียงใหม่ สวนสัตว์นครราชสีมา สวนสัตว์สงขลา

แมวลายหินอ่อน

แมวลายหินอ่อน
ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Pardo felis marmorata
ลักษณะทั่วไป แมวลายหินอ่อน จัดอยู่ในจำพวกเสือเล็ก วงศ์ย่อย Felidae เนื่องจากกระดูกกล่องเสียงไม่มีเส้นเสียงจึงคำรามดังกังวานอย่างเสือโคร่งหรือเสือดาว เสือดำไม่ได้ ขนาดตัวโตกว่าแมวบ้านไม่มากนัก และมีลวดลายตามตัวดูคล้ายลายหินอ่อนขัด จึงมีชื่อว่า “แมวลายหินอ่อน” ขนาดของแมวลายหินอ่อนพันธุ์ไทย ขนาดตัว 45-53 เซนติเมตร หางยาว 47.5-55.0 เซนติเมตร ช่วงขาหลัง 11.5-12.0 เซนติเมตร น้ำหนักตัว 2-5 กิโลกรัม ถิ่นอาศัย, อาหาร เขตการกระจายพันธุ์ของแมวลายหินอ่อนมีอยู่เฉพาะในทวีปเอเชีย บริเวณตั้งแต่แถบเทือกเขาหิมาลัยในประเทศเนปาล สิกขิม แคว้นอัสสัมของอินเดีย เมียนมาร์ ไทย กลุ่มประเทศอินโดจีน มาเลเซีย สุมาตรา และบอร์เนียว ปัจจุบันมีเหลืออยู่น้อยหาได้ยาก ถิ่นอาศัยที่ยังมีแมวลายหินอ่อนอาศัยอยู่คือ ป่าในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง จังหวัดอุทัยธานี แมวลายหินอ่อนกินสัตว์เล็กๆที่มันสามารถจับได้ ตั้งแต่แมลง จิ้งจก กิ้งก่า งู นก หนู กระรอก กระต่าย เป็นต้น พฤติกรรม, การสืบพันธุ์ แมวลายหินอ่อนมีความสามารถในการหลบซ่อนพรางตัวตามป่ารกทึบได้เก่ง ทำให้พบเห็นตัวในธรรมชาติได้ยาก ปีนต้นไม้เก่ง แต่ปกติแล้วชอบอาศัยหากินอยู่ตามพื้นป่าดิบทึบใกล้แหล่งน้ำ ไม่ค่อยอยู่บนต้นไม้สูงเป็นประจำอย่างเสือลายเมฆ ออกหากินตอนกลางคืน นิสัยค่อนข้างดุร้ายกว่าแมวป่าชนิดอื่นๆ การล่าเหยื่อมักใช้วิธีการวิ่งไล่จับเหยื่อตามพื้นป่าอย่างเงียบๆ ไม่ใช้วิธีการดักซุ่มอยู่ตามคาคบไม้อย่างเสือลายเมฆ พฤติกรรมการสืบพันธุ์ส่วนใหญ่ได้จากการศึกษาแมวลายหินอ่อนในสวนสัตว์ พบว่าค่อนข้างคล้ายกับแมวบ้าน แมวลายหินอ่อนผสมพันธุ์ได้ตลอดปี ระยะตั้งท้อง 66-82 วัน ลูกแรกเกิดยังไม่ลืมตา จนอายุประมาณ 12 วันจึงจะลืมตาได้และเริ่มหัดเดินเมื่ออายุประมาณ 15 วัน หย่านมอายุประมาณ 121 วัน และมีอายุยืนราว 12 ปี สถานภาพปัจจุบัน เนื่องจากเป็นสัตว์ที่ไม่ชอบอยู่ใกล้คน ชอบซุกซ่อนพรางตัวอยู่ตามป่าทึบที่ห่างไกลคน เมื่อพบคนจึงแสดงอาการดุร้าย ทำให้ถูกฆ่าตายไป ประกอบกับเป็นเสือที่มีลักษณะสวยงามหาได้ยากมาก เป็นที่ต้องการของสวนสัตว์ต่างๆ และ


ยีราฟ


ยีราฟ
ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Giraffa camelopardalis
ลักษณะทั่วไป เป็นสัตว์บกที่สูงที่สุด มีคอยาวมาก ตัวผู้มีส่วนสูงประมาณ 18 ฟุต น้ำหนักประมาณ 1,100 - 1,932 กิโลกรัม ตัวเมียมีส่วนสูงประมาณ 17 ฟุต น้ำหนักประมาณ 700 - 1,182 กิโลกรัม มีเขาทั้งในตัวผู้และตัวเมีย ไม่ผลัดเขา เขามีขนปกคลุมอยู่ หนังมีขนสั้นสีน้ำตาล มีลายขาวแปลกตา ปากและลิ้นยาว ใช้ริมฝีปาก และลิ้นม้วนวนจับใบไม้ได้ มีเต้านม 4 เต้า ถิ่นอาศัย, อาหาร พบเฉพาะในทวีปแอฟริกา แถบทุ่งหญ้าสะวันนา ทางตอนใต้ของทะเลทรายซาฮาร่า ตั้งแต่ไนจีเรียไปจนจรดแม่น้ำออเรนจ์ ยีราฟไม่ชอบกินหญ้ามากนัก ชอบกินใบไม้มากกว่า

แรดขาว


แรดขาว
ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Ceratotherium simum
ลักษณะทั่วไป ถ้าไม่รวมช้างแล้ว แรดขาวเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมบนบกที่ใหญ่ที่สุด ความยาวตั้งแต่หัวถึงโคนหาง 3.6-5 เมตร ไหล่สูง 1.6-2 เมตร น้ำหนักปกติ 2.3-3.6 ตัน ผิวสีน้ำตาลอมเหลืองหรือสีเทา ผิวหนังทั่วตัวไม่มีขน ยกเว้นขนที่ปลายหูและขนหางนอหน้ายาว 0.6 เมตร แต่บางตัวอาจยาวกว่า 1.50 เมตร แรดขาวริมฝีปากบนเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ไม่มีติ่งคล้ายงวง หูยาวกว่าแรดดำ และปลายหูแหลม หน้าผากลาดและมนกว่าแรดดำ หัวไหล่นูนเป็นก้อน ผิวหนังเป็นตุ่มนูนน้อยกว่าแรดดำ ถิ่นอาศัย, อาหาร พบทางใต้ของแอฟริกา ตั้งแต่ซูลูแลนด์ ถึงอุทยานแห่งชาติตรูเกอร์ซึ่งแรดขาวถูกนำไปเลี้ยงไว้ และยังพบได้ใน ซูดานภาคใต้ ยูกันดา และแถบใกล้ ๆ คองโก ประชากรแรดขาวลดจำนวนลงไปอย่างมากเช่นเดียวกับแรดพันธุ์อื่น แม้ว่าจะได้รับการคุ้มครองดีขึ้นก็ตาม กินหญ้าเป็นส่วนใหญ่ และกินพุ่มไม้เตี้ย ๆ มากกว่าใบไม้ พฤติกรรม, การสืบพันธุ์ ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง และดุร้ายน้อยกว่าแรดดำ อยู่เป็นคู่หรือครอบครัวเล็ก ๆ 3-4 ตัว บางครั้งพบอยู่หลายครอบครัวหากินอยู่ด้วยกัน บางทีพบถึง ๑๘ ตัว มีตัวผู้คุมฝูงตัวเดียว นอกนั้นเป็นตัวเมียและลูก แรดขาวมีการกระจายถิ่นหากินกว้างขวางกว่าแรดดำ โดยใช้กองอุจจาระและปัสสาวะเป็นการบอกอาณาเขตของมัน ตัวเมียที่มีลูกจะยอมให้ตัวผู้เข้าใกล้เฉพาะตอนที่เป็นสัดเท่านั้น หลังจากผสมพันธุ์แล้ว ตัวเมียจะต่อสู้ไล่ตัวผู้ไปทันที บางครั้งตัวผู้อาจถึงตายได้หรือ บางครั้งลูกที่ติดแม่อาจตาย ในฤดูร้อนชอบหลบร้อนตามร่มไม้หรือแช่ปลัก บางทีแช่ปลักทั้งคืนเพื่อบรรเทาความร้อนและกำจัดเห็บ หน้าหนาวชอบนอนอาบทรายแทนการแช่ปลัก จมูกดีมาก แต่ตาและหูไม่ดี ปกติวิ่งด้วยความเร็วถึง 29กิโลเมตรต่อชั่วโมง ถ้าตกใจอาจวิ่งได้เร็วถึง 40 กิโลเมตรต่อชั่วโมง แรดขาวเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุ 7-10 ปี ตั้งท้องนาน 18 เดือน (547 วัน) ปกติออกลูกตัวเดียว ซึ่งพออายุ 1 วันก็เดินตามแม่ได้แล้ว พออายุ 1 สัปดาห์เริ่มกินหญ้า ลูกจะอยู่กับแม่จนอายุ 1 ปี ลูกจะมีน้ำหนักประมาณ 400 กิโลกรัม ในเวลา 18 เดือน และมีอายุยืน 30-40 ปี
บที่2 สัตว์ปีก
ไก่ต๊อก
ไก่ต๊อก
ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Numida meleagris

ลักษณะทั่วไป ไก่ต๊อกเป็นไก่ขนาดกลาง ขนลำตัวส่วนใหญ่มีสีเทาอมดำ แต้มด้วยจุดสีขาวเล็ก ๆ ส่วนหัวและคอไม่มีขน ขนหัวมีปุ่มกระดูกรูปสามเหลี่ยม ตรงโคนจะงอยปากมีสีแดง บริเวณใบหน้าเป็นเนื้อสีขาว และมีปีกสั้น ถิ่นอาศัย, อาหาร ไก่ต๊อกชอบอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงจำนวน 10-100 ตัว มักเดินหากินอยู่ตามพื้นมากกว่าอยู่บนต้นไม้ ยกเว้นเวลาตกใจจะบินได้เตี้ย ๆ ไก่ต๊อกกินอาหารจำพวกเมล็ดพืช รากไม้ หญ้า และแมลงตามพื้นเป็นอาหาร พฤติกรรม, การสืบพันธุ์ เดิมเป็นสัตว์พื้นเมืองของประเทศแอฟริกา ปัจจุบันแพร่หลายไปทั่วโลก เพราะนิยมเลี้ยงไว้ดูเล่นหรือกินไข่ สถานภาพปัจจุบัน สถานที่ชม สวนสัตว์เปิดเขาเขียว สวนสัตว์เชียงใหม่ สวนสัตว์นครราชสีมา สวนสัตว์สงขลา


ไก่ป่า

ไก่ป่า (ไก่เถื่อน)
ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Gallus gallus
ลักษณะทั่วไป เป็นนกขนาดกลาง ลำตัวยาว 43 - 76 เซนติเมตร ในประเทศไทยมี 2 ชนิดย่อย คือไก่ป่าตุ้มหูขาวและไก่ป่าตุ้มหูแดง ไก่ป่าตุ้มหูขาวตัวผู้มีตุ้มหูสีขาว หน้าและหงอนขนาดใหญ่มีสีแดงสด หัว คอ ปีก และหลังมีสีเหลืองสลับแดง ท้องดำ หางสีดำเหลือบเขียว หางคู่กลางยื่นยาวกว่าหางเส้นอื่น ไก่ตัวเมียมีสีน้ำตาลเรียบ ๆ ออกเทา หางสั้นและมีหงอนเล็กมาก ส่วนไก่ป่าตุ้มหูแดงตัวผู้จะมีตุ้มหูสีแดง ถิ่นอาศัย, อาหาร พบในเอเชียตอนใต้ ตั้งแต่เชิงเขาหิมาลัย ลงมายังปากีสถาน อินเดีย บังกลาเทศ พม่า ไทย อินโดจีน จีนตอนใต้ มาเลเซีย สุมาตรา ชวาและ บาหลี อาหารได้แก่ แมลง เมล็ดพืช ลูกไม้สุกและดอกหญ้า พฤติกรรม, การสืบพันธุ์ อาศัยตามป่าไผ่ ป่าดิบแล้ง และป่ารอยต่อระหว่างป่าดิบแล้งและป่าเต็งรัง หากินเป็นกลุ่มเล็ก ๆ อยู่ตามพื้นป่า ตัวผู้ไม่ชอบร้องเหมือนตัวเมีย ในฝูงหนึ่งจะมีตัวผู้คุมตัวเมียหลายตัว ตัวผู้มักขันเป็นระยะ ๆ โดยเฉพาะในช่วงตอนเช้าและพลบค่ำ หากินเวลากลางวัน ตามพื้นดิน บินได้ไม่ไกลและไม่สูงมาก ไก่ป่าผสมพันธุ์ในฤดูร้อน สร้างรังอยู่ตามพื้นดินตามกอหญ้า กอไผ่ วางไข่ 6 - 12 ฟอง ระยะฟักไข่ 21 วัน ลูกไก่แรกเกิดมีขนอุยสีเหลืองสลับลายดำทั่วลำตัว เมื่อขนแห้งก็เดินตามแม่ไปหากินได้ทันที สถานภาพปัจจุบัน เป็นนกประจำถิ่นที่พบบ่อย และปริมาณปานกลาง ไก่ป่าตุ้มหูขาวพบทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง คือเลียบชายแดนประเทศกัมพูชา ตั้งแต่จังหวัดตราด ไปจนถึงจังหวัดอุบลราชธานี ส่วนไก่ป่าตุ้มหูแดง พบทางด้านตะวันตก ตั้งแต่ภาคใต้ขึ้นมาเลียบชายแดนประเทศพม่า จรดภาคเหนือ และตอนเหนือของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 สถานที่ชม สวนสัตว์ดุสิต สวนสัตว์เปิดเขาเขียว สวนสัตว์เชียงใหม่ สวนสัตว์นครราชสีมา สวนสัตว์สงขลา
ไก่ฟ้าพญาลอ








ไก่ฟ้าพญาลอ
ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Lophura diardi
ลักษณะทั่วไป เป็นนกขนาดกลาง - ใหญ่ ความยาววัดจากปลายปากถึงปลายหาง ประมาณ 60 - 82 เซนติเมตร มีสีสันสวยงามมาก ตัวผู้หัวสีน้ำเงิน ขนหงอนมีลักษณะคล้ายใบพายและมีสีน้ำเงินเช่นเดียวกัน แต่จากท้ายทอยลงมาถึงหลังและปีกมีสีเทา เมื่อกางปีกออกจะเห็นหลังตอนท้ายซึ่งมีสีเหลืองอมแดงวาว ลำตัวตอนล่างสีน้ำเงินจาง หางสีน้ำเงินดำวาวตลอดหาง ตัวเมียโดยทั่วไปมีขนเป็นสีน้ำตาล แต่ปีกเป็นสีน้ำตาลดำมีลายขวางสีขาว ขนหงอนบนหัวสีน้ำตาลแก่ ทั้งตัวผู้ ตัวเมียขามีสีน้ำตาลเข้ม หน้าและเหนียงเป็นแผ่นหนังสีแดง ตัวผู้จะยืดเหนียงออกมายาวเมื่อเวลาเกี้ยวพาราสีตัวเมียทำให้ดูสวยงามมากถิ่นอาศัย, อาหาร มีถิ่นกำเนิดทางภาคใต้ของแคว้นอัสสัม อินโดจีน ไทย กัมพูชา ลาว เวียดนาม สำหรับประเทศไทยพบทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก เป็นนกประจำถิ่นที่หายาก พบได้น้อย อาหารได้แก่ เมล็ดพืช ผัก ผลไม้ แมลง ไข่มด และตัวหนอน โดยการคุ้ยเขี่ยตามพื้นดินแล้วใช้ปากจิกหาอาหาร พฤติกรรม, การสืบพันธุ์ ชอบอยู่เป็นคู่ หรือครอบครัวเล็ก ๆ อาศัยอยู่ตามป่าที่รกทึบ หรือ ป่าไผ่ไม่ชอบที่โล่งแจ้ง ไม่ค่อยตื่นคน ทำให้มองเห็นได้ง่าย หากินในเวลากลางวัน ส่วนกลางคืนมักจะจับคอนนอนตามกิ่งไม้ ไก่ฟ้าพญาลอบินได้ดีพอสมควร แต่ไปไม่ไกลและไม่สูงนัก ไก่ฟ้าพญาลอเมื่ออายุเข้าปีที่ 3 จึงเริ่มผสมพันธุ์ได้ ผสมพันธุ์ช่วงฤดูร้อน ทำรังบนพื้นดินที่เป็นแอ่งตื้นใต้พุ่มไม้หนา ปูด้วยใบไม้ใบหญ้า บางครั้งอาจวางไข่ตามโพรงหรือซอกไม้ ออกไข่ครั้งละ 5 - 8 ฟอง ไข่วันเว้น 2 วัน ระยะฟักไข่ 24 - 25 วัน สถานภาพปัจจุบัน เป็นนกประจำถิ่น หายาก พบได้น้อย และเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535สวนสัตว์ดุสิต สถานที่ชม สวนสัตว์เปิดเขาเขียว สวนสัตว์เชียงใหม่ สวนสัตว์นครราชสีมา สวนสัตว์สงขลา


ไก่ฟ้าเลดี้แอมเฮิรสท์










ไก่ฟ้าเลดี้แอมเฮิรสท์
ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Chrysolophus amherstiae
ลักษณะทั่วไป ไก่ฟ้าเลดี้เป็นไก่ฟ้าขนาดกลาง ใกล้เคียงกับไก่ฟ้าสีทอง ขนลำตัวและปีกสีน้ำเงินอมเขียว ใต้คางและคอสีเขียว ด้านหลังคอมีลายเส้นสีดำ มองดูคล้ายเกล็ดปลาคาดตามขวาง หางยาวมีลายเขียวคล้ำคาดตามขวาง บนกระหม่อมมีสีน้ำเงิน หงอนสีแดง ใต้ลำตัวสีขาว จะงอยปากสีเหลืองอมเขียว ถิ่นอาศัย, อาหาร พบในประเทศจีน อยู่บนเทือกเขาทางตอนกลางซีกตะวันตกของแผ่นดินจีน อาหารได้แก่ เมล็ดพืชและผักผลไม้ต่าง ๆ พฤติกรรม, การสืบพันธุ์ สถานภาพปัจจุบัน สถานที่ชม สวนสัตว์เปิดเขาเขียว สวนสัตว์เชียงใหม่ สวนสัตว์นครราชสีมา สวนสัตว์สงขลา



ไก่ฟ้าสวินโฮว์









ไก่ฟ้าสวินโฮว์
ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Lophura swinhoei

ลักษณะทั่วไป ตัวผู้จะมีความสวยงามมาก ลำตัวของตัวผู้จะปกคลุมไปด้วยขนสีน้ำเงินเงามันเกือบทั้งตัว ยกเว้นบริเวณไหล่ช่วงหลังจะมีกลุ่มขนสีขาว และบริเวณหัวจะมีขนสีขาวคล้ายขนจุกอยูกลางหัว ซึ่งคือขนหงอนนั่นเอง และขนหางกะลวย (ขนหางเส้นกลาง 2 เส้นมีสีขาวยาวมาก) ขนหางเส้นอื่นเป็นสีน้ำเงินเข้ม ขนบริเวณไหล่มักจะเป็นสีแดงสดตัดกับขนตัวสีน้ำเงิน และหนังหน้าจะเป็นสีน้ำตาลแดง ปากจะเป็นสีเหลือง ขาแข้งจะเป็นสีแดง เดือยยาวและแหลม ส่วนตัวเมียมีขนสีน้ำตาลปกคลุมลำตัว และไม่มีขนหงอน บริเวณหลังและปีกจะเป็นสีน้ำตาลแดง ปลายขนจะเป็นสีดำ ส่วนที่หน้าและคอเป็นสีเทา ขนของหน้าอกและท้องมีลายรูปตัววีสีดำกระจายอยู่ทั่วไป หนังรอบตาเป็นสีน้ำตาลจืด ๆ ปากสีเหลืองเหมือนตัวผู้ แต่โคนปากจะเป็นสีดำ แข้งก็เลียนแบบตัวผู้ คือ มีสีแดง ถิ่นอาศัย, อาหาร พบในทวีปเอเซีย เกาะไต้หวัน เกาะฟอร์โมซา อาหารได้แก่ เมล็ดพืช ผัก แมลง พฤติกรรม, การสืบพันธุ์ อาศัยอยู่ตามป่าบนภูเขาที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลจนถึงระดับ 7,000 ฟุต และมีรายงานน้อยมากเกี่ยวกับนิสัยความเป็นอยู่ของมันในธรรมชาติ เป็นไก่ฟ้าที่ออกไข่เร็วกว่าชนิดอื่น โดยวางไข่ครั้งละ 6-12 ฟอง ใช้เวลาฟักไข่ 25 วัน ลูกไก่เลี้ยงง่าย โตเร็ว ตัวผู้จะมีขนสวยสมบูรณ์และผสมพันธ์ได้เมื่ออายุ 2 ปี แต่มีผู้เลี้ยงผสมพันธุ์ได้ภายในปีแรกทั้งสองเพศ ซึ่งเป็นเรื่องค่อนข้างแปลกสำหรับไก่ฟ้าในตระกูลนี้
ไก่ฟ้าหลังขาว


ไก่ฟ้าหลังขาว(ไก่ฟ้าสีเงิน)
ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Lophura nycthemera
ลักษณะทั่วไป ไก่ฟ้าหลังขาว เป็นนกขนาดกลาง - ใหญ่ ความยาวจากปลายปากถึงปลายหาง ประมาณ 50 - 125 เซนติเมตร ในประเทศไทยพบ 2 ชนิดย่อย คือ ไก่ฟ้าหลังขาว และไก่ฟ้าหลังขาวจันทรบูร ตัวผู้มีขนหงอนบนหัวสีน้ำเงินแก่ยาวคลุมท้ายทอย ใบหน้ามีแผ่นหนังสีแดง ขนตอนบนของลำตัวส่วนใหญ่และปีกสีขาววาวเหมือนเงิน มีลายเป็นเส้นบาง ๆ สีดำเป็นรูปตัววี (V) อยู่บนขน ตัวเมียมีขนหงอนบนหัวสีน้ำเงินแก่เหมือนกัน แต่มีเพียงเล็กน้อยพอสังเกตเห็นเท่านั้น ขนตามตัวส่วนใหญ่สีน้ำตาลคล้ำ แข้งสีแดง ไม่มีเดือย ถิ่นอาศัย, อาหาร พบในจีน พม่า ไทย อินโดจีน ในประเทศไทยพบทาง ภาคตะวันตก ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก อาหารได้แก่ เมล็ดพืช ดอกหญ้า ใบไม้ ผลไม้ แมลง ตัวหนอน ไข่มด พฤติกรรม, การสืบพันธุ์ ชอบอาศัยอยู่ตามป่าเขา หากินเป็นคู่ ๆ ไม่ชอบอยู่เป็นฝูงเหมือนไก่ป่า หากินตอนเช้าและพลบค่ำ ในเวลากลางคืนจะจับคอนนอนตามกิ่งไม้ หรือกิ่งไผ่ เริ่มผสมพันธุ์ได้เมื่อมีอายุ 3 ปี วางไข่ครั้งละ 4 - 6 ฟอง ระยะฟักไข่นาน 23 - 24 วัน โดยตัวเมียฟักไข่เพียงตัวเดียว ลูกนกแรกเกิดมีขนอุยปกคลุมทั่วตัว เมื่อขนแห้งก็เดินตามแม่ไปหาอาหารกินได้เลย สถานภาพปัจจุบัน เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 สถานที่ชม สวนสัตว์ดุสิต สวนสัตว์เปิดเขาเขียว สวนสัตว์เชียงใหม่ สวนสัตว์นครราชสีมา

ไก่ฟ้าหน้าเขียว







ไก่ฟ้าหน้าเขียว
ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Lophura ignita
ลักษณะทั่วไป เป็นนกขนาดกลาง ความยาวลำตัว 55 - 70 เซนติเมตร ตัวผู้และตัวเมียมีลักษณะที่แตกต่างกัน โดยตัวผู้มีขนหงอนบนหัว ขนที่คอหน้าอกและหลังตอนบนมีสีเหลือบเขียวอมน้ำเงิน ส่วนล่างของหลังมีสีแดงแกมน้ำตาล ขนหางคู่กลาง 2 คู่มีสีขาว คู่ต่อมาครึ่งด้านในเป็นสีขาว ครึ่งด้านนอกเป็นสีดำ คู่ต่อ ๆ มาสีดำ ส่วนตัวเมียขนส่วนใหญ่มีสีน้ำตาลแกมแดง ขนใต้ท้องสีน้ำตาลแกมดำมีขอบขาว ถิ่นอาศัย, อาหาร พบในป่าดงดิบที่เป็นป่าต่ำ ไม่ชอบออกหากินตามป่าโปร่งหรือที่โล่งเตียน ชอบอยู่ป่าต่ำมากกว่าป่าสูง มีถิ่นกำเนิดตอนใต้ของเทือกเขาตะนาวศรี ภาคใต้ของไทยตลอดจนถึงมาเลเซียและสุมาตรา ในประเทศไทยมีเฉพาะภาคใต้เท่านั้น อาหารได้แก่ แมลงต่าง ๆ ตัวหนอน ยอดหญ้า พืชอ่อน ๆ เมล็ดพืช และผลไม้บางชนิด พฤติกรรม, การสืบพันธุ์ ไก่ฟ้าหน้าเขียวอยู่รวมกันเป็นฝูงเล็ก ๆ มีตัวผู้เป็นจ่าฝูง หากินตอนกลางวันตามป่าดงดิบชื้นที่ทึบในระดับที่ไม่สูงมากนัก อาจพบใกล้ลำธาร ไม่ค่อยออกมาในที่โล่ง เมื่อเห็นศัตรูจะวิ่งหนีเข้าซ่อนตามพุ่มไม้ บางครั้งจะบินหนีไปใกล้ ๆ แล้วลงเดินวิ่งต่อไป ผสมพันธุ์ประมาณเดือนเมษายน - มิถุนายน ทำรังใต้พุ่มเตี้ย ๆ ที่รกทึบ ทำรังด้วยใบไม้และใบหญ้าแห้ง ๆ วางไข่ครั้งละประมาณ 4 - 8 ฟอง ตัวเมียจะฟักไข่หลังจากออกไข่ฟองสุดท้ายแล้ว ใช้เวลาฟักไข่ทั้งสิ้น 24 - 25 วัน ลูกไก่ฟ้าหน้าเขียว แรกเกิดมีขนอุยคลุมทั่วตัว เมื่อลืมตาลุกขึ้นยืนเดินได้ ก็จะเดินตามแม่ไปหาอาหารได้หลังออกจากไข่ 3 - 4 ชั่วโมง สถานภาพปัจจุบัน ไก่ฟ้าหน้าเขียว เป็นนกประจำถิ่น ที่ในปัจจุบันตามธรรมชาติหาได้ยาก และมีน้อยมาก พบเฉพาะทางภาคใต้ ตามกฎหมายจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 สถานที่ชม สวนสัตว์ดุสิต สวนสัตว์เชียงใหม่ สวนสัตว์สงขลา
ไก่ฟ้าหลังเทา






ไก่ฟ้าหลังเทา

ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Lophura leucomelanos
ลักษณะทั่วไป ตัวผู้และตัวเมียมีลักษณะไม่เหมือนกันและมีอยู่ 2 ชนิดคือ ไก่ฟ้าหลังเทาแข้งแดงและไก่ฟ้าหลังเทาแข้งดำ ตัวผู้มีลักษณะต่างจากตัวผู้ของไก่ฟ้าหลังขาวคือ ขนที่หางมีสีเข้มกว่า หงอนบนหัวแคบและยาวกว่า ตัวเมียมีลายเป็นรูปตัววีสีครีมอยู่บริเวณรอบคอและทางด้านล่างของตัวอยู่ทั่วไป ขนทางด้านบนของตัวมีสีน้ำตาล ทางด้านล่างของตัวสีอ่อนกว่าบนหลัง ถิ่นอาศัย, อาหาร พบในเทือกเขาหิมาลัย จีน ไทย และพม่า ประเทศไทยพบทางภาคเหนือด้านตะวันตก และภาคตะวันตก เรื่อยไปถึงคอคอดกระในภาคใต้ อาหารได้แก่ แมลง ตัวหนอน ไส้เดือน สัตว์ขนาดเล็ก และเมล็ดพืชบางชนิด เช่นขุยไผ่ เมล็ดหญ้า ผลไม้สุก พฤติกรรม, การสืบพันธุ์ มีการสืบพันธุ์อยู่ในช่วงเดือนมีนาคม - พฤษภาคม ชอบทำรังตามแอ่งบนพื้นดินใต้กอไม้รก ๆ รองรับด้วยใบหญ้าแห้ง วางไข่ครั้งละ 6 - 9 ฟอง ไข่มีตั้งแต่สีครีมจนถึงสีเนื้อแกมแดง ใช้เวลาฟักไข่ทั้งสิ้น 24 -25 วัน โดยตัวเมียฟักไข่เพียงตัวเดียว ลูกนกแรกเกิดมีขนอุยปกคลุมทั่วตัว หลังออกจากไข่ 3 - 4 ชั่วโมง หรือเมื่อขนแห้งก็จะเดินตามแม่ไปหาอาหารได้ สถานภาพปัจจุบัน ไก่ฟ้าหลังเทาเป็นนกประจำถิ่นที่พบไม่บ่อย และไม่มากนัก จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 สถานที่ชม สวนสัตว์ดุสิต สวนสัตว์เปิดเขาเขียว สวนสัตว์เชียงใหม่


นกกก












นกกก(นกกาฮัง, นกกะวะ หรือ นกอีฮาก)
ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Buceros bicornis
ลักษณะทั่วไป นกกกหรือนกกาฮัง เป็นนกที่มีขนาดใหญ่มากและใหญ่ที่สุดในจำพวกนกเงือกของไทย โดยมีขนาดลำตัว 122 เซนติเมตร ตัวผู้และตัวเมียโดยทั่วไปมีลักษณะคล้ายกัน แต่ตัวผู้จะมีขนาดใหญ่กว่า และต่างกันตรงที่ตัวผู้มีตาสีแดงทับทิม โหนกมีสีดำที่ด้านหน้าและด้านท้าย ตัวเมียตาสีซีดหรือสีขาว และไม่มีสีดำที่โหนก จากกลางโหนกของนกกกลงมามีสีเหลืองอ่อนปนสีส้ม สีนี้เกิดจากต่อมน้ำมันที่ก้น เมื่อนกตายลงสีนี้จะหายไปด้วย ตอนเช้าและตอนเย็นชอบร้องเสียงดัง กก กก หรือ กาฮัง กาฮัง ถิ่นอาศัย, อาหาร มีถิ่นกำเนิดในอินเดียตะวันตกเฉียงใต้ ตลอดถึงพม่า ไทย และเกาะสุมาตรา สำหรับประเทศไทยมีทั่วไปเกือบทุกภาคยกเว้นภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือบางส่วน และเคยมีมากที่เกาะตะรุเตา ชนิดย่อย homrai พบบริเวณภาคเหนือ ชนิดย่อย biconnis พบทางภาคใต้ นกกกกินผลไม้สุก เช่น กล้วย มะละกอ มะเดื่อ ไทร มะปางป่า และสัตว์เล็ก ๆ เช่น กิ้งก่า แย้ หนู งู โดยเอาหางจับฟาดกับกิ่งไม้ให้ตายก่อน แล้วเอาปากงับตลอดตัวให้เนื้อนิ่มกระดูกแตก แล้วโยนขึ้นไปในอากาศ อ้าปากรับให้สัตว์นั้นเข้าไปในปากแล้วกลืนลงไป พฤติกรรม, การสืบพันธุ์ ชอบอาศัยอยู่ตามป่าดิบชื้น ป่าดงดิบแล้ง และป่าดงดิบเขา ซึ่งมีต้นไม้สูง ๆ ชอบอยู่กันเป็นฝูงเล็ก ๆ ฤดูผสมพันธุ์จะอยู่กันเป็นคู่ ๆ ชอบกระโดดหรือร้อง ขณะหากินร้องเสียงดังมาก เวลาบินจะกระพือปีกสลับกับร่อน เสียงกระพือปีกดังคล้ายเสียงหอบ ปกติจะเกาะตามกิ่งไม้ โดยเฉพาะต้นไม้ผลในป่า บริเวณต้นที่มีผลสุกชนิดที่ชอบ มันจะมากินทุกวันจนผลไม้หมด จึงไปหากินที่ต้นอื่น นกกกผสมพันธุ์ในหน้าหนาวจนถึงหน้าร้อน วางไข่ตามโพรงไม้สูง วางไข่ครั้งละ 1-2 ฟอง ก่อนวางไข่ตัวเมียจะเข้าไปในโพรงแล้วทำการตบแต่งโพรงก่อน ตัวผู้คาบดินผสมกับมูลของตัวเมียโบกปิดปากโพรง หรืออาจใช้อาหารที่กินเข้าไปแล้วสำรอกออกมาเพื่อปิดปากโพรง เหลือช่องไว้ตรงกลางพอให้ตัวเมียยื่นปากออกมาได้ ขณะที่ตัวเมียกกไข่และเลี้ยงลูกอยู่นี้ ตัวผู้จะหาอาหารมาเลี้ยงลูกและเมียของมัน ตัวเมียจะผลัดขนออกและขนขึ้นใหม่เต็ม ซึ่งกินเวลาพร้อมๆไปกับลูกของมันมีขนขึ้นเต็ม เมื่อขนขึ้นเต็มตัวเมียจะจิกปากโพรงออกแล้วหัดบินพร้อมกับลูก สถานภาพปัจจุบัน เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535
นกกระจอกเทศ








นกกระจอกเทศ
ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Struthio camelus
ลักษณะทั่วไป เป็นนกใหญ่ที่สุดในโลก มีทั้งหมดด้วยกัน 6 ชนิด แยกกันโดยขนาดและสีของผิวหนัง มีความสูงเฉลี่ย 2.5 เมตร หนักถึง 160 กิโลกรัม มีปีกเล็กบินไม่ได้ แต่ขาใหญ่แข็งแรง มีนิ้วเท้าข้างละ 2 นิ้ว วิ่งเร็วได้ถึง 64 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ตัวผู้ขนทั่วตัวสีดำ แต่ขนพวงปลายปีกหางเป็นสีขาว นกกระจอกเทศมีขนบริเวณลำตัว ปีก และหางเท่านั้น ส่วนหัว คอ และขาไม่มีขนเลย ตัวเมียขนสีน้ำตาลคล้ำ ถิ่นอาศัย, อาหาร อยู่ในทวีปแอฟริกา โดยมีการกระจายตัวตั้งแต่ประเทศเซเนกัลไปจนถึงเอธิโอเปีย อาหารได้แก่ แมลง หญ้า ใบไม้ ผลไม้บางชนิดและเมล็ดพืช พฤติกรรม, การสืบพันธุ์ ชอบหากินในทุ่งกว้างรวมกันเป็นกลุ่ม อยู่ร่วมกับฝูงม้าลายและยีราฟ เพื่อคอยดักกินแมลงและสัตว์เลื้อยคลานเล็กๆ ที่ตื่นตกใจจากการกินหญ้าของสัตว์เหล่านั้น ป้องกันตัวโดยใช้เท้าเตะ เป็นนกที่มีการระแวดระวังภัยมาก ทำให้หลบหลีกพวกสัตว์กินเนื้อได้ดี นกกระจอกเทศตัวผู้ตัวหนึ่งคุมตัวเมียได้หลายตัว ตัวเมียจะออกไข่ในที่เดียวกันประมาณ 30-40 ฟอง หรือมากกว่า ไข่นกกระจอกเทศใหญ่ที่สุดในโลก มีขนาด 6-8 นิ้ว หนักกว่า 1 กก. ฟักไข่นาน 6 สัปดาห์ โดยตัวเมียจะฟักไข่ตอนกลางวัน และตัวผู้จะฟักไข่ตอนกลางคืน ลูกนกโตเร็วมาก และโตเต็มที่เมื่ออายุ 3-4 ปี

นกกระตั้ว เมเจอร์ มิชเชล






นกกระตั้ว เมเจอร์ มิชเชล
ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Cacatua leadbeateri
ลักษณะทั่วไป นกกระตั้วชนิดนี้ได้ตั้งชื่อตามผู้ค้นพบคนแรก แบ่งออกเป็นชนิดย่อยได้ 2 ชนิด มีความแตกต่างกันทั้งขนาดลำตัวและสีของหงอนบนหัว นกชนิดแรกคือ C.l. leadbeateri (Vigors) มีขนาดใหญ่กว่าคือ ประมาณ 38 เซนติเมตร จะอาศัยอยู่บริเวณตะวันออกเฉียงเหนือของทวีปออสเตรเลียส่วนชนิดที่สองคือ C.l. mollis (Mathens) จะอาศัยอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของทวีป ปัจจุบันได้รับการคุ้มครองดูแลสถานภาพโดยกฏหมายของรัฐ เพื่อป้องกันการดักจับนกไปขาย ส่วนใหญ่นกจะดำรงชีวิตหากินบนพื้นดินตลอดวัน ถิ่นอาศัย, อาหาร อาศัยอยู่บริเวณตะวันออกเฉียงเหนือของทวีปออสเตรเลีย














นกกระตั้วดำ

ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Probosciger aterrimus goliath
ลักษณะทั่วไป นกกระตั้วเพศผู้และเพศเมียจำแนกได้โดยพิจารณาจากสีคือ นกเพศผู้ขนทั่วตัวมีสีน้ำตาลปนดำ ใต้คอปลายขนมีขอบสีเขียว ส่วนบริเวณหูมีสีเหลือง ปากสีเทา ขาสีน้ำตาล ม่านตาสีน้ำตาล ส่วนนกเพศเมียขนบริเวณส่วนหูจะมีสีเหลืองจางกว่าเพศผู้ และจะมีลักษณะเด่นของจุดสีเหลืองๆ บริเวณขนหาง เปลือกตาสีเทา ถิ่นอาศัย, อาหาร พฤติกรรม, การสืบพันธุ์ นกชนิดนี้จะมีระยะเวลาในการฟักไข่ประมาณ 30 วัน สถานภาพปัจจุบัน สถานที่ชม สวนสัตว์ดุสิต สวนสัตว์เปิดเขาเขียว สวนสัตว์เชียงใหม่ สวนสัตว์นครราชสีมา สวนสัตว์สงขลา
นกกระตั้วดำหางขาว






นกกระตั้วดำหางขาว
ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Calyptorhynchus baudinii
ลักษณะทั่วไป บริเวณสีขนตรงตำแหน่งหูจะมีสีขาวและสีเทา สีขนใต้หางจะมีสีขาวปนเทาเข้ม ขนบริเวณใต้คอลงมาปลายขนมีขอบสีเทาปนดำ ซึ่งลักษณะดังกล่าวนี้เป็นลักษณะเด่นที่ใช้ในการจำแนกนกชนิดนี้ ถิ่นอาศัย, อาหาร นกกระตั้วดำหางขาว เป็นชนิดพันธุ์ย่อยของนกกระตั้วดำ อาศัยอยู่ในบริเวณตะวันตกเฉียงใต้และทางตะวันออกเฉียงใต้ของออสเตรเลีย พฤติกรรม, การสืบพันธุ์ ระยะฟักไข่ เหมือนกันกับนกกระตั้วดำอื่นๆ คือ ประมาณ 30 วัน สถานภาพปัจจุบัน สถานที่ชม สวนสัตว์เปิดเขาเขียว
นกกระตั้วดูคอร์ป













นกกระตั้วดูคอร์ป
ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Kakatoe ducorps
ลักษณะทั่วไป กระตั้วชนิดนี้เป็นกระตั้วหงอนสั้น เป็นนกกระตั้วขนาดเล็ก มีขนาดประมาณ 13 นิ้ว เป็นนกที่หายาก บางคนก็เรียกว่ากระตั้วก้นแดง เพราะมีขนแดงขึ้นอยู่รอบ ๆ ก้นที่โคนหอนมีสีส้มปนอยู่บ้าง สีพื้นทั่ว ๆ ไปก็เป็นสีขาว ถิ่นอาศัย, อาหาร มีถิ่นกำเนิดที่เกาะโซโลมอน พฤติกรรม, การสืบพันธุ์ สถานภาพปัจจุบัน สถานที่ชม สวนสัตว์นครราชสีมา สวนสัตว์สงขลา

นกกระตั้วใหญ่หงอนเหลือง














นกกระตั้วใหญ่หงอนเหลือง

ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Cacatua galerita
ลักษณะทั่วไป มีความยาวของลำตัวประมาณ 50 เซนติเมตร นกตัวผู้นั้นสามารถจำแนกได้จากสีน้ำตาลแดงเข้มรอบดวงตา ซึ่งจะสังเกตได้ชัดเจนกว่าตัวเมีย ลำตัวมีสีขาวทั้งตัว มีหงอนบนหัวสีเหลือง มีทั้งขนาดเล็กและใหญ่ ถิ่นอาศัย, อาหาร นกกระตั้วใหญ่หงอนเหลืองมีถิ่นกำเนิดในบริเวณหมู่เกาะนิวกีนี แทสมาเนีย เกาะคิง เกาะมอลลูกา รวมทั้งตอนเหนือและตะวันออกของออสเตรเลีย นกชนิดนี้ยังแบ่งออกเป็นชนิดพันธุ์ย่อยถึง 4 ชนิด เป็นนกที่สวยงาม มีนิสัยชอบหากินตามพื้นดิน หากินเป็นฝูงขนาดใหญ่ มักจะมีแหล่งอาศัยตามทุ่งหญ้า ป่าโปร่ง และพื้นที่เกษตรกรรม อาหารในธรรมชาติของนกชนิดนี้ได้แก่ เมล็ดพืช ตาอ่อนของพืช ใบพืช ผัก และ ผลไม้ รวมทั้งสามารถขุดรากไม้ และส่วนของพืชที่อยู่ใต้ดินมากินได้ พฤติกรรม, การสืบพันธุ์ อาศัย และทำรังบนต้นไม้ โดยเจาะเป็นรู ชอบส่งเสียงดัง ชอบเล่น จะเลิกหงอนให้ตั้งขึ้นทุกครั้ง นกกระตั้วใหญ่หงอนเหลืองผสมพันธุ์วางไข่ช่วงเดือนสิงหาคม-พฤศจิกายน ทำรังวางไข่ในโพรงไม้ วางไข่ครั้งละ 3 - 5 ฟอง ระยะฟักไข่ประมาณ 30 วัน สถานภาพปัจจุบัน สถานที่ชม สวนสัตว์ดุสิต สวนสัตว์เปิดเขาเขียว สวนสัตว์เชียงใหม่ สวนสัตว์นครราชสีมา สวนสัตว์สงขลา

นกกระแตแต้แว๊ด









นกกระแตแต้แว๊ด
ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Vanellus indicus
ลักษณะทั่วไป มีรูปร่างกระทัดรัด ขายาว นิ้วเท้ายาว ที่นิ้วมีหนังเชื่อมติดกันเหมือนเป็ด ทั้งตัวผู้และตัวเมียรูปร่างคล้ายกัน ตัวผู้ค่อนข้างใหญ่กว่าตัวเมียเล็กน้อย หัว คอ และอกเป็นสีดำ ปากค่อนข้างยาว หูขาวและเหนียงแดง ถิ่นอาศัย, อาหาร พบเกือบทุกภาคของประเทศไทย ยกเว้นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นกกระแตแต้แว๊ดกินลูกกุ้ง ลูกปลาเล็ก ๆ ตลอดจนไส้เดือน หนอนแดงและแมลงบางชนิดที่อาศัยอยู่ตามบึง หรือหนองน้ำทั่วไป พฤติกรรม, การสืบพันธุ์ ชอบออกหากินกับนกน้ำชนิดอื่นเป็นฝูง ๆ ว่ายน้ำได้เก่งและเร็ว แต่ไม่ค่อยว่ายน้ำ วิ่งเก่งโดยเฉพาะในที่แฉะและมีน้ำ บินได้สูงแต่ไม่ชอบบินไกล ขณะบินชอบส่งเสียงร้อง "แต แต แว๊ด" และมักร้องตอนกลางคืน ขณะพระจันทร์เต็มดวงและตอนเช้ามืด นกชนิดนี้ทำรังออกไข่ตามเนินดิน มีหญ้าปูเล็กน้อย หรือไม่มีเลย วางไข่ราวต้นฤดูหนาว ฟักไข่ราว 24-28 วัน ลูกฟักออกใหม่ ๆ ก็มีขนและวิ่งได้ ลูกมีสีคล้ายดินหรือคล้ายบริเวณที่เป็นรังของมัน ส่วนไข่ซึ่งมีราว 3-4 ฟอง ก็มีสีและลายเหมือนดิน มองเห็นได้ยากมาก สถานภาพปัจจุบัน สถานที่ชม สวนสัตว์ดุสิต สวนสัตว์เปิดเขาเขียว

นกกระทาดงแข้งเขียว







นกกระทาดงแข้งเขียว
ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Arborophila chloropus

ลักษณะทั่วไป ตัวผู้และตัวเมียมีลักษณะคล้ายกัน เป็นนกกระทาที่มีแข้งและนิ้วเท้าสีเขียวคล้ำเห็นเด่นชัด ซึ่งผิดกับนกกระทาชนิดอื่น หน้าขาวมีจุดดำเล็กๆ ด้านบนของตัวและอกตอนบนเป็นสีน้ำตาลแก่ปนสีไพล มีลายขวางสีดำบางๆที่อก ที่ท้องสีน้ำตาลแดงคล้ายสีสนิม ถิ่นอาศัย, อาหาร นกกระทาดงแข้งเขียวมีถิ่นกำเนิดในจีน พม่า ไทย ลาว เขมร เวียดนาม มาเลเซีย บอร์เนียว สำหรับประเทศไทยพบทางภาคเหนือ ภาคตะวันตก ภาคตะวันออก อาหารได้แก่ กินเมล็ดพืช และแมลงทุกชนิด พฤติกรรม, การสืบพันธุ์ ชอบอาศัยอยู่ตามป่าดงดิบเชิงเขา บางครั้งอาจอยู่ตามป่าโปร่ง ป่าไผ่ ชอบหากินอยู่ตัวเดียว นอกจากฤดูผสมพันธุ์จึงจะอยู่เป็นคู่ ปกติจะได้ยินเสียงร้องมากกว่าได้เห็นตัว เป็นนกที่ขันเพราะมาก สถานภาพปัจจุบัน เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 สถานที่ชม สวนสัตว์ดุสิต สวนสัตว์เปิดเขาเขียว สวนสัตว์เชียงใหม่

นกกระทาดงอกสีน้ำตาล



นกกระทาดงอกสีน้ำตาล
ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Arborophila brunneopectus
ลักษณะทั่วไป เป็นนกขนาดเล็ก ตัวผู้และตัวเมียมีลักษณะและสีสันเหมือนกัน โดยทั่วไปลำตัวด้านบนคล้ายคลึงกับนกกระทาดงคอสีแดง แต่มีลายสีดำกระจายไปทั่ว คอหอยสีขาวหรือสีขาวแกมสีเนื้อ คอด้านข้างมีลายจุดสีดำ อกสีดำ ท้องสีเนื้อจาง ๆ ออกเป็นสีขาว ลำตัวด้านข้างสีดำมีลายบั้งสีขาว ถิ่นอาศัย, อาหาร เป็นนกประจำถิ่นที่พบได้น้อยทางภาคเหนือ ตะวันตก และตะวันออกเฉียงเหนือ ต่างประเทศพบในประเทศจีนด้านตะวันตกเฉียงใต้ พม่า ไทย ลาว เวียดนาม มาเลเซีย และหมู่เกาะซุนดาใหญ่ อาหารได้แก่ เมล็ดหญ้า เมล็ดพืช ผลไม้ที่หล่นตามพื้นดิน แมลง และสัตว์ขนาดเล็กที่อยู่ตามพื้นดิน พฤติกรรม, การสืบพันธุ์ อาศัยอยู่ตามป่าดงดิบแล้งและป่าดิบเขา พบอยู่โดดเดี่ยว เป็นคู่ หรือเป็นฝูงเล็ก ๆ หากินในเวลากลางวัน แต่ในเวลากลางคืนมันจะจับคอนนอนตามกิ่งไม้ หากินตามพื้นดิน นกชนิดนี้ผสมพันธุ์ในช่วงฤดูร้อนระหว่างเดือนมีนาคมถึงเดือนกรกฎาคม รังมักอยู่ตามกอหญ้าหรือกอไผ่ สถานภาพปัจจุบัน เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 สถานที่ชม สวนสัตว์ดุสิต สวนสัตว์เปิดเขาเขียว สวนสัตว์เชียงใหม่
นกกระทาทุ่ง




นกกระทาทุ่ง

ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Francolinus pintadeanus
ลักษณะทั่วไป ตัวผู้และตัวเมียมีลักษณะไม่เหมือนกัน ตัวผู้มีเดือยขาละหนึ่งอัน ตัวมีสีน้ำตาลและดำ พร้อมกับจุดขาวกลมที่อกและหลังตอนบน ตัวเมียมีสีทึบกว่า มีลายขวางสีดำขาวตรงอกและท้อง ถิ่นอาศัย, อาหาร พบในจีน ไหหลำ พม่า ไทย กัมพูชา ลาว เวียดนาม ในประเทศไทยมีอยู่ทั่วไปทุกภาค อาหารได้แก่ ข้าวเปลือก เมล็ดพืช แมลง พฤติกรรม, การสืบพันธุ์ ชอบอาศัยอยู่ตามท้องทุ่งที่มีหญ้ายาว ๆ ป่าเต็งรัง และทุ่งหญ้าคาทั่วไป ไม่ชอบทุ่งหญ้าสั้นและป่าทึบ นกกระทาทุ่งเริ่มผสมพันธุ์ได้เมื่อมีอายุ 6-8 เดือน วางไข่ครั้งละ 3-6 ฟองเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตาม สถานภาพปัจจุบัน พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 สถานที่ชม สวนสัตว์เปิดเขาเขียว สวนสัตว์เชียงใหม่
นกกระทุง







นกกระทุง
ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Pelecanus philippensisลักษณะทั่วไป นกกระทุงเป็นนกน้ำขนาดใหญ่ ตัวผู้และตัวเมียมีลักษณะคล้ายกัน แต่ตัวผู้มีขนาดใหญ่กว่าตัวเมีย ขนาดความยาวประมาณ 140 เซนติเมตร ปากยาวและแบน มีถุงน้ำใต้คอสีม่วงอ่อน ขอบปากด้านบนมีจุดสีฟ้าคล้ำๆ เรียงกัน ขาสั้นสีน้ำตาลและมีเยื่อยึดอยู่ระหว่างนิ้วทั้งสี่ ใช้สำหรับว่ายน้ำ ขณะบินจะหดคอแนบเข้ามาและวางหัวไว้บนไหล่ ขนตามลำตัวสีเทาอ่อน บริเวณขอบตาสีขาว ถิ่นอาศัย, อาหาร ในประเทศไทยพบตามแหล่งน้ำขนาดใหญ่ และชายทะเลภาคกลางและภาคใต้ นอกจากนี้ยังพบในแถบอินโดแปซิฟิก อินเดีย พม่า อินโดจีน และชวา อาหารได้แก่ ปลา สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกตามแหล่งน้ำขนาดใหญ่ พฤติกรรม, การสืบพันธุ์ ชอบอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงทั้งช่วงเวลาหากินและทำรัง ขณะหาอาหารจะใช้ถุงใต้คอทำหน้าที่คล้ายสวิงช้อนปลาลงในลำคอ นกกระทุงทำรังอยู่บนต้นไม้รวมกันเป็นฝูง วางไข่คราวละ 1-5 ฟอง และใช้เวลาฟักไข่ประมาณ 30 วัน โดยทั้งตัวผู้และตัวเมียผลัดกันทำหน้าที่